ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้ /ศรีเทพ /เสมา ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้ / ศรีเทพ / เสมา | Page 45

มหายานสืบต่อเนื อ ่ งมาจนถึงราวกลางพุทธศตวรรษ ที่ ๑๘ ซึ่งได้อิทธิพลวัฒนธรรมจากเขมรในสมัย พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๔-๑๗๖๒) และ พบโบราณวัตถุที่ได้รับอิทธิพลจากในสมัยนั้นหลาย ประการ เมื่อบ้านเมืองหลายแห่งในลุ่มเจ้าพระยา เริ่มรวมตัวกันเป็นมณฑลขนาดใหญ่ สมเด็จพระ รามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) จากราชวงศ์ละโว้- อโยธยาทรงอภิเษกสมรสกับพระราชธิดาของพระ มหากษัตริย แ ์ ห่งสุพรรณภูมิ แล้วสร้างกรุงศรีอยุธยา ขึ น ้ แทนเมืองอโยธยาเดิม ในราวปลายพุทธศตวรรษ ที่ ๑๙ ท�ำให้ความเป็นศูนย์กลางของเมืองละโว้สิ้น สุดลง กลายเป็นเมืองลูกหลวงของเมืองอยุธยา โดย มีสมเด็จพระราเมศวรโอรสยังคงปกครองเมืองละโว ในช่วงเวลานี บ ้ รรดาเมืองนครรัฐทั ง ้ หลายใน ลุ่มน�้ำเจ้าพระยาได้เปลี่ยนการนับถือศาสนาแต่เดิม ที่มีทั้งพุทธเถรวาท มหายาน และฮินดู มาเป็นพุทธ ศาสนาลังกาวงศ ละโว้เป็นเมืองส�ำคัญทางศาสนาที่มีศาสน สถานเก่าแก่และวัดวาอารามรุ่งเรืองและเป็นเมือง ส�ำคัญบนเส้นทางคมนาคมทางน�้ำจากอยุธยาขึ้น ไปยังหัวเมืองทางเหนือ จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาล สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมืองละโว้ก็ได้ร บ ั การ ฟื น ้ ฟูให้เป็นเมืองที ป ่ ระทับในฤดูร อ ้ น มีการก่อสร้าง ตึกรามบ้านช่อง วัดวาอาราม ตลอดจนการจัดวาง ผังเมืองคล้ายกับทางตะวันตก เป็ น เมื อ งเสด็ จ ประพาสธรรมชาติ ข อง พระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้า ทรงธรรม พระเจ้าปราสาททองลงมา จนรุ่งเรือง สุดในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ที่ทรงสร้างเมือง ละโว้ใหม่ในนามเมืองนพบุรีหรือลพบุรี อันมีความ หมายว่าเป็นเมืองของพระนารายณ์ตามอย่างที่ม กล่าวถึงในรามเกียรติ์ ในยุคสมเด็จพระนารายณ์ฯ นี้ เ กิ ด การสร้ า งบ้ า นแปงเมื อ งและขยายถิ่ น ฐาน ไปรอบเมืองลพบุรี ท�ำให้เกิดชื่อบ้านนามเมื อ ง ล�ำคลอง หนองน�้ำ และภูเขาที่สัมพันธ์กับเรื่องราว ในรามเกียรติ์ เช่น ทุ่งพรหมมาศ เมืองขีดขิน เขา สรรพยา เขาสมอคอน ฯลฯ ศาสนสถานส�ำคัญกลางเมืองละโว้ท ถ ี่ ก ู ปรับ เปลี่ยนจากพุทธสถานแบบเถรวาทและเทวสถาน ฮินดูและพุทธมหายานมาเป็นแบบเถรวาทลังกาวงศ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙ ลงมา ได้แก วัดนครโกษา ต�ำแหน่งที่ตั้งอยู่ใกล้กับศาลพระกาฬ เดิม เป็นพุทธสถานทางเถรวาทที่มีมาแต่สมัยทวารวด ถูกสร้างทับเปลี่ยนให้เป็นพระสถูปและพระวิหาร ในพุทธเถรวาทลังกาวงศ์ การขุดแต่งที่ฐานเจดีย องค์ใหญ่พบประติมากรรมในสมัยทวารวดี เช่น พระพุทธรูป รูปบุคคล ยักษ์ ลวดลายประกอบ สถาปัตยกรรมต่างๆ ด้านหลังของเจดีย์ประธาน มีวิหารขนาดเล็กเพียงส่วนฐาน พบพระพุทธรูป หินทราย พระบาทมีฐาน เจดีย์วัดนครโกษาที่สร้างมาแต่สมัยทวารวดี และมีการ ปรับให้เป็นวัดในสมัยลพบุรีต่อเนื่องกับอโยธยาโดยมีพระ หินทราย แท่นฐานพระยืนสร้างเป็นวิหารขนาดเล็กด้านหน้า และต่อมาก็บูรณะให้เป็นวัดนครโกษาในสมัยสมเด็จ พระนารายณ์ฯ โดยเจ้าพระยาโกษา (เหล็ก) มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธ 45