ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้ /ศรีเทพ /เสมา ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้ / ศรีเทพ / เสมา | Page 38
ไปสร้างใหม่ในพื้นที่รอบนอกของเมือง จึงปรากฏม
ปราสาทหลายแห่งเกิดขึ น ้ เช่น แหล่งที ส ่ ำ � คัญเห็นจะ
ได้แก่ ปราสาทเมืองแขก ที อ ่ ยู บ ่ นเนินดินริมฝั ง ่ ล�ำน� ำ ้
ล�ำตะคอง ซึ่งเป็นการย้ายถิ่นฐานจากเมืองเสมามา
สร้ า งเมื อ งใหม่ ที่ มี ก ารนั บ ถื อ ศาสนาฮิ น ดู แ ละ
สุดท้ายก็พุทธมหายานที่มีปราสาทแบบอโรคยา
ศาลที่วัดบ้านเมืองเก่า จนมีการเล่าขานว่าคือเมือง
โคราชปุระเก่าก่อนที่จะมาเกิดเมืองโคราชสมัย
อยุธยาที่เป็นตัวจังหวัดในปัจจุบัน
ณ เมืองศรีเทพก็เช่นเดียวกัน ตั้งแต่พุทธ
ศตวรรษที่ ๑๕ ศาสนสถานกลางเมืองชั้นในที่เป็น
สมั ย ทวารวดี มี พ ระสถู ป คลั ง ในที่ หั น หน้ าไปทาง
ตะวันออกก็ถูกแทนด้วยปราสาทอิฐแบบขอม คือ
ปรางค์ศรีเทพ และปรางค์สองพี่น้องที่หันหน้าไป
ทางทิศตะวันตก ทั้งสองปราสาทนี้ครอบคลุมพื้นท
กว้างขวาง มีระเบียงคดล้อมรอบ มีสระน�้ำ และ
อาคารบริวารพร้อมด้วยแนวถนนไปสู่ปากประต
เมืองทางทิศตะวันตก ลักษณะรูปแบบทางศิลปะ
สถาปั ต ยกรรมของปราสาทเป็ น แบบขอมสมั ย
บาปวนที่มีอายุแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๖ ลงมาและม
ร่องรอยการซ่อมและสร้างแต่งในสมัยพุทธศตวรรษ
ที่ ๑๘ เพราะพบทับหลังและรูปปั น ้ เทวบาลสมัยบายน
ที่ทางกรมศิลปากรได้เคลื่อนย้ายไปไว้ที่พิพิธภัณฑ
สุโขทัย
แต่ความต่างกันอย่างหนึ่งของเมืองศรีเทพ
กับเมืองเสมาที่เห็นได้ชัดจากการที่เมืองศรีเทพม
ร่องรอยของโบราณสถานมากและซับซ้อนมากกว่า
เมืองเสมา อีกทั ง ้ ปกคลุมอาณาบริเวณของความเป็น
เมืองกว้างไกลกว่า
ภายในเมืองชั้นในของศรีเทพพบร่องรอย
ของการอยู่อาศัยของผู้คนมาแต่สมัยเหล็กตอน
ปลาย เพราะมีการขุดพบแหล่งฝังศพ โครงกระดูก
ทั้งเศษตะกรันเหล็กที่เกิดจากการถลุงเหล็กในสมัย
ก่อนประวัติศาสตร์อยู่ ในชั้นดินตอนล่าง ในชั้น
38
ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”
ดินทางวัฒนธรรมที่อยู่เหนือขึ้นมาก็เป็นสมัยครั้ง
ประวัต ศ ิ าสตร์ท ม ี่ ฐ ี านของศาสนาฮินดูคละกันไปกับ
ศาสนสถานทางพุทธศาสนาสมัยทวารวดี ร่องรอย
ของศาสนสถานฮินดูมีน้อยกว่าของทางพุทธ
บรรดาโบราณวั ต ถุ โ ดยเฉพาะฐานโยน
ศิวลึงค์ เทวรูปพระวิษณุ พระศิวะ พระอาทิตย์ และ
พระกฤษณะ ที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒
ลงมา เป็นสิ่งบ่งบอกให้เห็นว่าเมืองศรีเทพมีการ
นับถือศาสนาฮินดูมาก่อนที่จะนับถือพุทธศาสนา
แบบทวารวด
จากศิลาจารึกที่พบที่วังไผ่ ในบริเวณใกล
กับเมืองศรีเทพกล่าวถึงพระนามกษัตริย์ผู้เป็นใหญ
อยู่ในเมืองนี้ว่า มีพระเกียรติยศยิ่งใหญ่เทียบเท่า
พระเจ้าภววรมัน อันเป็นปฐมกษัตริย์ของรัฐเจนละ
ที่มีเมืองส�ำคัญอยู่ที่สมโบร์ไพรกุก เป็นรัฐในลุ่ม
ทะเลสาบและลุ่มแม่น�้ำโขงในกัมพูชา
จากหลั ก ฐานทางโบราณสถานวั ต ถุ ใ น
ศาสนาฮินดูสมัยก่อนเมืองพระนครที่พบในเมือง
ศรีเทพและบริเวณโดยรอบของเมืองนั้น พอกล่าว
ได้ว่าศรีเทพเป็นชุมชนบ้านเมืองมาก่อนในพื้น ท
เมืองชั้นใน เป็นเมืองรูปค่อนข้างกลม มีคูน�้ำคันดิน
ล้อมรอบ และศาสนสถานในเมืองและรอบเมืองก
เป็นศาสนสถานฮินดูแต่เป็นขนาดเล็ก จนกระทั่ง
ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ลงมา อารยธรรมขอมและ
เมืองพระนครซึ่งเป็นอารยธรรมฮินดูอันเป็นศาสนา
หลักของกลุ่มบ้านเมืองทางมัณฑละเจนละของลุ่ม
น�้ำโขงทั้งบนที่ราบสูงโคราชและที่ราบลุ่มทะเลสาบ
ซึ่งราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ลงมา มัณฑละเจนละ
ทั ง ้ ที ร ่ าบลุ ม ่ ทะเลสาบและที ร ่ าบสูงโคราชก็สามารถ
รวมตัวกันเป็นราชอาณาจักรเมืองพระนครที ม ่ เ ี มือง
ยโสธรปุระริมทะเลสาบในเขตเมืองเสียมเรียบ
ตอนปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๕ นับแต่ร ช ั กาล
ของพระเจ้าราเชนทรวรมันลงมา อารยธรรมฮินด
ของอาณาจักรเมืองพระนครก็แผ่ขึ้นมาอย่างเป็น