เที่ยวตามตำนาน เพชรบุรีที่ยังไม่เคยเห็น ฯลฯ เที่ยวตามตำนาน เพชรบุรีที่ยังไม่เคยเห็น มหาเภตราฯ | Page 53
ภาพวาดลายเส้นของ Herbert Warrington Smyth บริเวณเขาสามร้อยยอด
บัน ทึกส่งต่อกัน มาว่า รู้จักเกาะแก่งและแนวหิน
ตลอดจนลมฟ้าอากาศเป็นสมบัต ท ิ ส ี่ ง ่ ผ่านกันมาโดย
ไม่ต้องใช้เข็มทิศแบบฝรั่ง ต้นหนจะสังเกตฝั่งและ
แหลมเป็นจุดหมาย จึงพบเส้นทางต่างๆ มากมาย
และแทบจะคาดการณ์ไม่ผิดเลย เพราะมีหนังสือ
น�ำทางสามารถกระทั ง ่ หลบหลีกหินโสโครก ทางเข้า
ท่าเรือและแนวหินได้ถูกต้อง
การรู้จักกระแสลมคือความรู้ส�ำคัญในการ
เดินเรือเลียบชายฝั่ง จะมีช่วงเวลาในการเดินทาง
เข้าออกในรอบปี เช่น ช่วงเดือนตุลาคมถึงกุมภา
พันธุ์-มีนาคม จะเป็น ลมอุตราหรือลมอุกา หรือ
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นลมมรสุมที่พัดจาก
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปทางตะวันตกเฉียงใต้จะ
พัดร่วมกับลมเหนือหรือลมว่าวหรือบางครั้งจะพัด
ร่วมกับ ลมตะวันออกและลมหัวเขา เป็นช่วงซึ่งเรือ
ส�ำเภาจะเข้ามายังอ่าวภายใน
ลมสลาตันคือลมมรสุม พัดจากทิศใต้ขึ้นไป
ทางเหนือ พัดร่วมกับ ลมพัทธยา เป็นลมที่พัดจาก
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ
ส่วน ลมตะเภา พัดจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ไป
ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ช่วงในราวเดือนเมษายน-
พฤษภาคมจนถึงกันยายน และ ลมพัดหลวงหรือลม
ตะโก้ พัดจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปทางทิศตะวัน
ออกเฉียงใต้ก็จะพัดอยู่ในช่วงปลายฤดูฝน
นอกจากชาวประมงพื้นถิ่นภายในอ่าวไทย
ซึ่งคงมีอยู่ไม่มากนัก ความรู้เรื่องลมต่างๆ เหล่า
นี้ค่อยๆ เลือนหายไป เพราะการค้าส�ำเภาหลวง
เปลี่ ย นมาใช้ เ รื อ ก� ำ ปั ่ น แบบตะวั น ตกเมื่ อ พ.ศ.
๒๓๗๘ และเปลี ย ่ นมาเป็นเรือกลไฟซึ ง ่ สามารถสร้าง
ได้ในสยามเอง เมื อ ่ พ.ศ. ๒๓๙๘ ท�ำให้การใช้ส ำ � เภา
เดินเรือเลียบชายฝั ง ่ แบบเดิมตามฤดูกาลในแถบคาบ
สมุทรค่อยๆ หมดไป
การค้าต่างประเทศในสมัยกรุงศรีอยุธยาใช
เรือส�ำเภาเป็นหลัก พระไอยการต�ำแหน่งนาพลเรือน
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธ
53