การท่องเที่ยวทางน�้ำกับการพัฒนาการท่องเที่ยวไทย
ภูเก็ต … ศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางเรือที่ดี ที่สุดในเอเชีย
จังหวัดภูเก็ตเคยได้รับรางวัล“ Best Asian Maritime Capital” หรือ“ ศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางเรือที่ดีที่สุดในเอเชีย” จากงาน Asia Boating Award 2553 ที่ประเทศฮ่องกง เนื่องจากความสวยงาม และภูมิอากาศของภูเก็ตที่สามารถแล่นเรือมาได้ตลอดปี ประกอบ กับความพร้อมในด้านอู่ต่อเรือและอู่ซ่อมเรือยอร์ชที่มีอยู่กว่า 40 แห่ง และการได้เปรียบในเรื่องของราคา คุณภาพ และค่าใช้จ่าย ในการน�ำเรือมาจอดที่ท่าเทียบเรือ ท�ำให้มีนักท่องเที่ยวแล่นเรือ ยอร์ชจากภูมิภาคต่างๆ เข้ามาจอดแวะพักเรือที่ภูเก็ตสูงถึงปีละ ประมาณ 1,200 ล�ำ โดยเข้ามาพักเฉลี่ยครั้งละ 60 วัน และในแต่ละ วันนักท่องเที่ยวจะใช้จ่ายเฉลี่ยไม่ต�่ำกว่า 100,000 บาทต่อคน( โดย เฉลี่ยประมาณ 3 คนต่อเรือหนึ่งล�ำ) สร้างรายได้ให้กับจังหวัดภูเก็ต
ในแต่ละปีสูงกว่า 2 หมื่นล้านบาท นอกจากภูเก็ตแล้ว ยังมีจังหวัด ริมฝั ่งทะเลทั้งอันดามันและอ่าวไทยที่มีท่าเทียบเรือมารีน่าที่รองรับ กระจายตัวในเมืองท่องเที่ยวชายฝั ่งทะเลที่ส�ำคัญ อาทิ กระบี่ ชลบุรี ตราด และประจวบคีรีขันธ์
ความพร้อมของไทยในการพัฒนาการ ท่องเที่ยวด้วยเรือยอร์ช
เมื่อพิจารณาในประเด็นทั้งด้านความต้องการ( Demand) และความ พร้อมของปัจจัยพื้นฐาน( Supply) ของการท่องเที่ยวด้วยเรือยอร์ช ของไทย สามารถสรุปปัจจัยเสริมและข้อจ�ำกัดได้ดังนี้
ปัจจัยเสริม
• ประเทศไทยมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในการเป็นแหล่งท่องเที่ยว ทางเรือที่ดีที่สุดในเอเชียและมีแหล่งท่องเที่ยวอื่นที่หลากหลาย และมีความพร้อมของอุตสาหกรรมอู ่ต่อเรือและอู ่ซ่อมเรือยอร์ช อันเป็นที่ยอมรับในระดับโลกทั้งในเรื่องของคุณภาพและราคา
• มีกิจการที่ด�ำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับการขายและให้เช่าเรือยอร์ช
กว่า 40 รายในประเทศไทย รองรับกลุ ่มนักท่องเที่ยวที่ต้องการเช่า เรือยอร์ชเพื่อท่องเที่ยวชมธรรมชาติในระยะสั้นๆ ตามชายฝั่ง ทะเลของไทย ในราคาหลากหลายตามความต้องการ เช่น เรือ ขนาด 8 คน สามารถค้างบนเรือได้ 2 วัน 1 คืน เส้นทางจาก พัทยาไปเกาะช้างและเกาะกูด ราคา 850,000 บาท เรือขนาด 8-14 คนเที่ยวตามเกาะใช้เวลาวันเดียวในพื้นที่เขตพัทยาราคา 550,000 บาท หรือการให้บริการรูปแบบเดียวกันที่ภูเก็ต ราคา ประมาณ 420,000 บาท และเรือยอร์ชตกปลาขนาดเล็ก 6-10 คน ราคา 85,000-118,000 บาท
• ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยเสริมทางการ ท่องเที่ยว ทั้งโรงแรมที่พัก และความสะดวกสบายในการเดินทาง ท่องเที่ยวเชื่อมโยงไปยังแหล่งท่องเที่ยวอื่นได้สะดวกเมื่อ นักท่องเที่ยวสิ้นสุดการเดินทางท่องเที่ยวโดยเรือยอร์ช
ข้อจ�ำกัด
• ความไม่เพียงพอและการกระจุกตัวของท่าจอดเรือยอร์ช( มารีน่า) ปัจจุบันประเทศไทยมีมารีน่าอยู่ทั้งสิ้น 11 แห่ง ใน จ�ำนวนนี้อยู่ในฝั่งอันดามัน 6 แห่ง และฝั่งอ่าวไทย 5 แห่ง ซึ่ง สามารถรองรับเรือยอร์ชเข้าจอดได้ตั้งแต่ 8 ล�ำจนถึงสูงสุด 300 ล�ำ แตกต่างกันไปในแต่ละท่า ร่องน�้ำและขนาดของ เรือยอร์ช โดยมารีน่าที่สามารถให้บริการจอดเรือได้จ�ำนวนมาก สุดและเรือขนาดใหญ่สุด คือ อ่าวปอ แกรนด์มารีน่า จังหวัด ภูเก็ต และยอร์ช เฮเว่น มารีน่า จังหวัดภูเก็ต ส่วนในฝั่งทะเล อ่าวไทย มารีน่าส่วนใหญ่จะสามารถรองรับเรือขนาดระหว่าง 7-28 เมตร โดยเรือยอร์ชที่ต้องการจอดเรือกับทางมารีน่าทุกแห่ง ในภูเก็ตต้องท�ำการจองล่วงหน้าอย่างน้อยไม่ต�่ำกว่า 1 เดือน
ในด้านการกระจายแหล่งที่ตั้งของมารีน่าทางฝั่งทะเลอันดามันมี เฉพาะเมืองท่องเที่ยวหลักในทะเลอันดามัน คือ จังหวัดภูเก็ตและ
รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว
53