รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว ฉบับที่ 2 ASEAN CONNECT | Page 51

การท่องเที่ยวทางน�้ำกับการพัฒนาการท่องเที่ยวไทย

การท่องเที่ยวทางทะเล( Maritime Tourism)

Cruise Tourism
การท่องเที่ยวด้วยเรือสำราญ
การท่องเที่ยวด้วยเรือส�ำราญ( Cruise) เป็นรูปแบบการให้บริการ เดินทางที่รวมพาหนะเดินทางกับความบันเทิง มีกิจกรรมบนเรือ และกิจกรรมบนฝั่งเมื่อเรือเทียบท่าตามเมืองต่างๆ เส้นทางและ การให้บริการแตกต่างกันไปตามขนาด ประเภทและการใช้งาน อาทิ Mainstream Cruise Ship เป็นเรือที่ได้รับความนิยมมากสุด ด้วยลักษณะที่เหมือนรีสอร์ท Adventure Cruise Ship เป็นเรือ ที่ออกแบบและมีอุปกรณ์ที่ให้บริการส�ำหรับการเดินทางไปแหล่ง ท่องเที่ยวที่อยู่ห่างไกลซึ่งเรือโดยสารขนาดใหญ่ไม่สามารถเข้าถึง Expedition Cruise Ship เป็นเรือที่ออกแบบเป็นพิเศษ หรือมีการ วิจัยปรับปรุงรูปแบบเพื่อการเดินทางเฉพาะอย่าง เช่น การเดินทาง บนทะเลน�้ำแข็ง และ River Cruise Ship ที่มีขนาดเล็ก ออกแบบ มาเพื่อใช้ในการล่องแม่น�้ำและคูคลองต่างๆ เป็นต้น
สมาคมการเดินเรือส�ำราญใหญ่ที่สุดของโลก( Cruise Lines International Association( CLIA)) ระบุว่า ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา มีจ�ำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางด้วยเรือส�ำราญสูงขึ้นเรื่อยๆ จาก 17.8 ล้านคนในปี 2552 เป็น 23 ล้านคน ในปี 2558 เพิ่มขึ้นเฉลี่ย ร้อยละ 4.4 ต่อปี และคาดว่าในช่วง 5 ปีข้างหน้า( ปี 2558-2563) ธุรกิจเรือส�ำราญจะขยายตัวจากการสร้างเรือใหม่ของสมาชิก เพิ่มขึ้นอีก 55 ล�ำ ด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
โดยในปี 2557 อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเรือส�ำราญสร้างมูลค่าทาง เศรษฐกิจสูงถึง 119.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ช่วยให้เกิดการ จ้างงานเกือบล้านคน
ส�ำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวด้วยเรือส�ำราญในภูมิภาคเอเชีย นั้น CLIA รายงานว่า ในปี 2557 มีจ�ำนวนนักท่องเที่ยวด้วย เรือส�ำราญสูงถึง 2.17 ล้านคน ในช่วงปี2556-2558 ขยายตัวเฉลี่ย ร้อยละ 19.88 ต่อปี โดยประเทศในภูมิภาคเอเชียที่เรือส�ำราญนิยม แวะจอดเทียบท่า( Port of Calls) สูงสุด คือ ประเทศญี่ปุ ่น รองลงมา ได้แก่ มาเลเซีย เกาหลีใต้ จีน เวียดนาม สิงคโปร์ และไทย ตามล�ำดับ ท่าเรือที่มีจ�ำนวนเรือมาจอดเทียบท่ามากที่สุดจะอยู่ที่ สิงคโปร์ รองลงมาได้แก่ ท่าเรือ Baoshan ของไต้หวัน เกาะเจจู ของ เกาหลีใต้ ฮ่องกง และจอร์จทาวน์ ของเกาะปีนัง ท่าเรืออ่าวป่าตอง จังหวัดภูเก็ตของไทยอยู่ในล�ำดับ 7 ในปี 2558 อ่าวป่าตอง ขยับขึ้นมาเป็นล�ำดับ 6 และมีท่าเรือ Cruise กัวลาลัมเปอร์เพิ่มขึ้นใน รายการท่าเรือ อันเนื่องมาจากการเปิดเส้นทางเดินเรือใหม่มากขึ้น ในภูมิภาค เช่น เส้นทางภูเก็ต-ย่างกุ้ง เส้นทางบาหลี-กรุงเทพฯ เส้นทางไป-กลับสิงคโปร์และแวะภูเก็ต เส้นทางอินโดนีเซีย- ปาปัวนิวกินี-ออสเตรเลีย เส้นทางกรุงเทพ-กัมพูชา-เวียดนาม- Sanya( จีน)-มาเก๊า-ฮ่องกง เป็นต้น
10 อันดับประเทศยอดนิยมในการจอดเทียบท่าของเรือ Cruise
ปี 2557
ปี 2558
ล�ำดับ
ประเทศ
จ�ำนวนวัน
เทียบท่า
ประเทศ
จ�ำนวนวัน
เทียบท่า
1
ญี่ปุ่น
626
ญี่ปุ่น
646
2
มาเลเซีย
505
มาเลเซีย
580
3
เกาหลีใต้
417
เกาหลีใต้
377
4
จีน
390
สิงคโปร์
374
5
เวียดนาม
363
ไทย
374
6
สิงคโปร์
335
เวียดนาม
316
7
ไทย
293
จีน
300
8
ไต้หวัน
235
ฮ่องกง
200
9
ฮ่องกง
184
อินโดนีเซีย
196
10
อินโดนีเซีย
176
ไต้หวัน
175
ที่มา: ประมวลจาก Cruise Lines International Association Southeast Asia.
Asia Cruise Trends 2014 Edition
รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว
49