รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว ฉบับที่ 2 ASEAN CONNECT | Page 34

ASEAN Connect
การจัดระบบการขนส่งในรูปแบบที่เชื่อมต่อเพื่อให้อาเซียนเป็น ศูนย์กลางการขนส่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ซึ่งจะต้องเร่งด�ำเนินการ East-West Corridor( EWEC) ให้ส�ำเร็จโดยการสร้างจุดเชื่อม ที่ยังขาดหายไปในเมียนมา และพัฒนาท่าเทียบเรือที่ย่างกุ้ง และเมืองดานัง การส่งเสริม Mekong-India Economic Corridor( MIEC) การสร้างสะพานแม่น�้ำโขงในกัมพูชา การสร้างท่าเรือทะเลน�้ำลึก Dawei ในเมียนมา การสร้างทางหลวงและศึกษาความเป็นไปได้ใน การสร้างเส้นทางรถไฟระหว่างกาญจนบุรีและ Dawei โดยการพัฒนา รูปแบบการเชื่อมโยงดังกล่าวส่งผลให้ไทยมีศักยภาพในการเป็น Hub ในการกระจายสินค้าและการท่องเที่ยว
นอกจากนั้น อาเซียนยังสร้างความเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่ง กับ“ เส้นทางสายไหมใหม่ภายใต้ศตวรรษที่21”( The New Silk Road) ของประเทศจีน โดยการพัฒนาเส้นทางคมนาคม 2 เส้นทาง ได้แก่
Silk Road Economic Belt ซึ่งเป็นเส้นทางสายไหมทางบก มีลักษณะ คล้ายแถบเส้นเข็มขัดที่เชื่อมโยงจากฝั่งตะวันตกของจีนเชื่อมโยง ประเทศที่ตั้งอยู ่ในภูมิภาคเส้นทางสายไหมเดิม( อินเดีย เปอร์เซีย ทวีปยุโรปและคาบสมุทรอาหรับ) ผ่านเอเชียกลาง เอเชียตะวันตก เอเชียใต้อาเซียน ตะวันออกกลาง และยุโรป และ 21st Century Maritime Silk Road ซึ่งเป็นเส้นทางสายไหมทางทะเลที่เชื่อมโยงจากท่าเรือ ทางตอนใต้ของจีน ผ่านภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกาตะวันออก และไปสิ้นสุดที่ ยุโรป( ประเทศเบลเยี่ยม) ซึ่งเส้นทางสายไหมทางทะเล ถือเป็นยุทธศาสตร์ส�ำคัญในการขยายผลประโยชน์ระหว่างจีน กับประเทศต่างๆ ครอบคลุมหลายภูมิภาค โดยเฉพาะอาเซียน และอาจกลายเป็นเส้นทางที่เอื้อประโยชน์ต่อการค้าและการลงทุน และการท่องเที่ยวมากที่สุดอีกเส้นทางหนึ่งในอนาคต
32 รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว