! THAI HOUSE IN CULTURE | Page 5

ความเชือ เกียวกับเสาเรือน

4
ความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับขั้นตอนการตัดไม้สร้างเสาเรือน
คติความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับขั้นตอนในการตัดไม้สร้างเรือน คนในอดีตมักจะมีความเชื่อเรื่องโชคลาง มากกว่าเหตุผล โดยเฉพาะเมื่อมีการตัดไม้เพื่อการก่อสร้างเรือนไทย โดยหากขณะที่ทำาการโค่นต้น แต่ต้นไม้ไม่ได้ขาด ออกจากต้น โดยที่ยังมีเนื้อหรือบางส่วนของต้นติดอยู่กับต้น หรือเกิดเสียงในลักษณะ“ เอี๊ยด” มีความเชื่อว่าเป็นเสียง ร้องไห้อย่างทุกข์ทรมานของนางไม้ผู้ปกปักษ์รักษาต้นไม้ต้นนั้น เพราะฉะนั้นผู้ที่เข้าไปทำาการตัดต้นไม้จะต้องระวังไม่ ให้เกิดการตัดแบบ“ ถอนยวง” หรือการตัดต้นไม้โดยไม่ขาดออกจากต้นภายในครั้งเดียว ซึ่งลักษณะดังกล่าวนอกจาก จะทำาให้เกิดความเชื่อดังกล่าวแล้วนั้นยังส่งผลให้ต้นไม้ที่ทำาการตัดนั้นมีลักษณะเป็นโพรง และไม่สามารถนำาไปใช้เป็น เสาเรือนได้ เนื่องจากปลวกจะเข้ามาทำารัง โดยจะต้องดัดแปลงนำาไปทำาเป็นเครื่องเรือนประเภทอื่น
ความเชื่อทางด้านเสาเรือนทางด้านโหราศาสตร์
ลักษณะเสาเรือนที่ดีและลักษณะเสาเรือนที่ไม่ดีตามความเชื่อทางด้าน โหราศาสตร์ของคนในสมัยก่อนแบ่งตามประเภทได้ดังนี้
1. เสาที่มีขนาดกลางเสาเล็ก จัดเป็นเสาที่ไม่ดีเรียกว่า“ ไม้มงสลด” มีลักษณะไม่ดี 2. บริเวณโคนและปลายต้นมีลักษณะเท่ากันเรียกว่า“ อุดมพฤกษ์” มีลักษณะดี 3. บริเวณโคนใหญ่ปลายเล็กเรียกว่า“ ไม้ตัวเมียดี” มีลักษณะที่ดี 4. โคนเล็กปลายโต เรียกว่า“ ยักขิณี” มีลักษณะที่ไม่ดีอย่างมาก
นอกจากนี้ลักษณะของเสาเรือนยังสามารถแบ่งเป็นเพศ โดยแบ่งตามลักษณะของเสาเรือนซึ่งมีวิธีการแบ่งดังนี้ 1. ต้นเสาและปลายเสามีลักษณะเท่ากัน คือ เสาตัวผู้ ผู้ที่อาศัยอยู่จะมีความเป็นอยู่ที่สบายแบบปกติธรรมดา 2. ลักษณะเสาเรือนโคนใหญ่ปลายเล็ก คือเสาตัวเมีย ผู้อยู่อาศัยจะมีความเป็นอยู่ที่ดีมีชื่อเสียง โชคลาภและเงินทอง 3. ลักษณะเสาที่ป่องตรงบริเวณกลางเสา บริเวณโคนเล็ก แต่ปลายโต จะเป็นเสาที่ไม่มีชีวิต หรือเรียกว่าเป็นเสายักขิณี จะทำาให้ผู้อยู่อาศัย เดือดร้อน พบแต่ความทุกข์และอาจส่งผลไปถึงการเสียชีวิต
จากที่ได้อธิบายไปข้างต้นแสดงให้เห็นถึงการจำาแนกลักษณะเสาที่ดีและลักษณะเสาที่ไม่ดีตามการแบ่งโดย ขนาดและรูปทรงเสานอก ซึ่งยังสามารถสังเกตได้จากบริเวณตาเสา หรือตาไม้ที่ปรากฏอยู่บนเสานั้น หากมีลักษณะ ที่เสมอดิน ชื่อว่า“ เป็ดไซ้”, ลักษณะโผล่ขึ้นมาเหนือดินประมาณหนึ่งคืบ ชื่อว่า“ ไก่ตอด”, ลักษณะโผล่เหนือพื้นดิน ประมาณหนึ่งศอก ชื่อว่า“ หมูสี” ซึ่งหากมีลักษณะดังกล่าว จำานวนเลขคี่ คือ 1จนถึง 7 แห่งบนเสา จัดได้ว่าเป็นเสาที่มี ลักษณะที่ดี แต่ถ้าหากมีจำานวนเลขคู่ ตั้งแต่ 2 จนถึง 8 จัดได้ว่าเป็นเสาที่ไม่ดี ซึ่งหากพบลักษณะที่ไม่ดีดังกล่าวสามารถ แก้ไขปัญหาได้โดยการทำาพิธีกรรมเสาตาร้ายเป็นตาดี ซึ่งใช้อุปกรณ์ดังนี้คือ
1. เมล็ดพันธ์ผักกาด 2. ขี้วัวแดง 3. น้ำาผึ้ง 4. น้ำานมวัว เมื่อมีส่วนผสมแล้วบดส่วนผสมให้เท่ากันและทาที่บริเวณตาเสานั้น จึงจะสามารถแก้เคล็ดจากร้ายกลายเป็นดีได้