! THAI HOUSE IN CULTURE | Page 4

คติความเชือ

เกียวกับเสาเรือน

3
ลักษณะและข้อห้ามของการสร้างเสาเรือน
เสาสำาหรับการใช้ปลูกเรือนไทยมักใช้ไม้เต็ง ไม้รัง เพราะมีขนาดที่สามารถทำาเสาได้เหมาะ เนื่องจากเนื้อไม้มี ขนาดแข็ง อีกทั้งเมื่อฝังอยู่ในดินจะไม่มีลักษณะการผุกร่อน รวมไปถึงลักษณะที่โผล่พ้นดินสามารถทนต่อสภาพสิ่ง แวดล้อมได้ถึง 50 ปี โดยสามารถสังเกตได้จากเรือนไทยที่มีลักษณะเก่าแก่ บริเวณเสาที่มีลักษณะผุผังแต่ก็ยังสามารถ ใช้งานได้อยู่ แต่ในบางพื้นที่ก็จะใช้ไม้ประเภทอื่นเช่น ไม้ประดู่ ไม้เหียง หรือไม้เคี่ยม แต่หากเป็นไม้พะยอมจะไม่นิยม ใช้เนื่องจากชื่อของลักษณะไม้มีความหมายที่ไม่ดี เนื่องจากการยอมความ เป็นสิ่งที่ไม่เป็นมงคลแก่เรือน นอกจากนี้ ยังมีไม้ตะเคียน ซึ่งจัดเป็นไม้อีกประเภทหนึ่งที่ไม่นิยมใช้ เนื่องจากลักษณะเนื้อไม้มีชั้นน้ำามันมาก อีกทั้งเมื่อมีการใช้ เสาตกมัน จะมีความเชื่อกันว่าเป็นสิ่งอัปมงคล มีนางไม้หรือผีอาศัยอยู่ และจะทำาให้คนที่อาศัยอยู่ในเรือนได้รับความ เดือดร้อน ไปจนถึงการถึงแก่ความตายได้ ด้วยเหตุนี้เองการปลูกเสาเรือนจึงนิยมใช้ไม้เต็ง หรือไม้รังเป็นพื้นฐาน และ ไม้อีกประเภทที่ไม่นิยมใช้คือ ไม้ที่มีที่มาต่างพื้นที่กันหรือที่เรียกว่า “ ไม้คนละป่า ” เนื่องจากเทวดาหรือนางไม้ผู้รักษา นั้นจะทะเลาะกันและทำาให้คนที่อาศัยอยู่ไม่มีความสุข ซึ่งในความเป็นจริงนั้นการใช้ไม้ที่มีที่มา ลักษณะคุณภาพ และ ขนาดที่แตกต่างกันนั้นเป็นการยากต่อการปลูกสร้างเรือน
วิธีการตัดเสาเรือน
ขันตอนและวิธีการหาเสาเรือนในสมัยโบราณ
การหาเสาเรือนในสมัยโบราณนิยมเข้าป่าเพื่อไปตัดหาเอา เอง อีกทั้งมีประเพณีที่นิยมทำากัน คือ การขอแรงจากญาติหรือเพื่อน ฝูงให้ช่วยกันตัด โดยจะต้องเลือกเดือนที่จะเข้าไปทำาการตัดไม้เพื่อ ทำาเสาเรือนนี้ โดยมีกำาหนดตั้งแต่เดือนอ้ายหรือเดือนกุมภาพันธ์ไป จนถึงเดือนเมษายน เนื่องจากระหว่างช่วงเดือนนี้สภาพภูมิอากาศ เอื้ออำานวยไม่มีฝน พื้นที่ดินในป่าแห้ง อีกทั้งในช่วงเดือนนี้ไม่ใช่ ฤดูทำาการเพาะปลูก ในขณะที่ช่วงเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือน ธันวาคมไม่นิยมเข้าไปตัดไม้เพื่อทำาเสาเรือน เนื่องจากไม้ในช่วงนี้มี ลักษณะเป็น “ ไม้บวช ” คือ ไม้กำาลังแตกใบอ่อน โดยไม้ประเภทไผ่ มีลักษณะแตกลำาครึ่งกอ กาบยังติดเป็นสีแดงเจือเหลือง คล้ายสีของ จีวรพระภิกษุ จึงเป็นที่มาของชื่อไม้บวช
เริ่มจากการหาบุคคลเพื่อเข้าไปตัดไม้เพื่อการสร้างเสาเรือนซึ่งส่วนใหญ่ทำาการจัดหาเสบียงก่อนเข้าป่าประมาณ 15
วัน โดยมีวิธีการดังนี้ ทำาการคัดเลือกไม้ตามตำารา ทำาเครื่องหมายไม้ที่ต้องการตัดโดยเอาขวานบากโคนต้นเป็นสัญลักษณ์ และเอาหญ้าและใบไม้ยัดใส่เป็นเครื่องหมาย หากไม้ล้มไปทางทิศตะวันออก ( บูรพา ) ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ( อีสาน ) ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ( ประจิม ) หรือทิศ
ตะวันออกเฉียงใต้ หรือทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ( พายัพ ) จะต้องทำาการล้มไม้ไปตรงข้ามกับทิศทางข้างต้น