ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้ /ศรีเทพ /เสมา ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้ / ศรีเทพ / เสมา | Page 10
ทำ�ความเข้าใจใหม่ ความหมายของคำ�ว่า “ทวารวดี” ในมิติการเมือง
ข้าพเจ้าได้ทำ�ความเข้าใจใหม่ว า ่ ทวารวดีในมิต ท ิ างการเมือง หมายถึง กลุ ม ่ ของนครรัฐใกล้ทะเลหรือ
นครรัฐที่เป็นทั้งเมืองท่าติดต่อกับโพ้นทะเล มารวมตัวกันอย่างหลวมๆ ในลักษณะที่เป็น มัณฑละ [Mandala]
หรือสหพันธรัฐ [Federation] ที ม ่ ี เมืองนครชัยศรีหรือนครปฐมโบราณ เป็นศูนย์กลางทางศิลปวัฒนธรรม และ
มี เมืองละโว้หรือลพบุรี เมืองอู่ทอง เมืองคูบัว และเมืองศรีมโหสถ เป็นเมืองในมณฑลหรือมัณฑละเดียวกัน
ความเป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของการปกครองหรือการรวมตัวของ
นครรัฐในมัณฑละหนึ่งๆ นั้น ไม่ได้อยู่ที่เมืองสำ�คัญเมืองใดเมืองหนึ่ง หากอยู่ที่พระมหากษัตริยาธิราชผู้เป็น
ผู้นำ�ทางบารมีที่อาจประทับอยู่ ณ เมืองใดเมืองหนึ่งได้ในชั่วพระชนมายุของพระองค์ หากสิ้นไปแล้วอาจ
เคลื่อนไปอยู่ที่พระมหากษัตริย์ของนครรัฐอื่นที่อยู่ในมัณฑละเดียวกันได้ เช่น จากนครชัยศรีไปยังเมืองละโว
หรือเมืองคูบัวก็ได
ความเป็นศูนย์กลางของพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า “พระจักรพรรดิราช”
นั้น สะท้อนให้เห็นจากคำ�จารึกในศิลาจารึกแผ่นโลหะและเหรียญเงินที่มีคำ�ว่า “บุญกุศลแห่งพระผู้เป็นใหญ
แห่งศรีทวารวดี” เป็นต้น
ส่ ว นในมิ ติ ท างวั ฒ นธรรม “ทวารวดี ” หมายถึ ง
อารยธรรมพระพุทธศาสนาร่วมสมัยของบรรดาเมืองนครรัฐและ
เมืองใหญ่น้อยทั้งที่อยู่ในมัณฑละทวารวดีและเมืองอื่นที่ ไม่ใช
มัณฑละเดียวกัน ความเป็นอารยธรรมทวารวดีเห็นได้จากการ
แพร่หลายของระบบความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเถรวาทและ
มหายานที่สะท้อนให้เห็นจากหลักฐานทางโบราณสถานวัตถุที่
มีทั้งศิลปวัฒนธรรมที่เป็น ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ศิลาจารึก
พระพุทธรูป พระสถูป และลวดลายเครื่องประดับที่พบในภาค
กลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ของประเทศไทย
ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๖
เศียรพระพุทธรูปปูนปั้นจากโบราณสถานในเมือง
นครปฐม ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถาน
แห่งชาติ พระปฐมเจดีย
10
ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”
เหรียญเงินที่มีจารึก “ศรีทวารวดีศวรปุญญะ” แปลว่าบุญกุศลของพระ
ผู้เป็นใหญ่แห่งศรีทวารวดี อีกด้านหนึ่งเป็นภาพโคแม่ลูก พบในเมือง
โบราณในวัฒนธรรมทวารวดีหลายแห่ง