เที่ยวตามตำนาน เพชรบุรีที่ยังไม่เคยเห็น ฯลฯ เที่ยวตามตำนาน เพชรบุรีที่ยังไม่เคยเห็น มหาเภตราฯ | Page 17
โดยสรุป
หากจะลองเปรียบเทียบกับช่วงเวลาทาง
ประวัติศาสตร์ กล่าวได้ว่าต�ำนานต่างๆ เหล่านี้ โดย
เฉพาะต�ำนานเรื อ ่ งท้าวอู ท ่ องสามารถก�ำหนดเวลาใน
ต�ำนานได้อย่างกว้างๆ ว่า อยู่ในราวพุทธศตวรรษท
๑๘-๑๙ อันเป็นช่วงเวลาของการรวบรวมแว่นแคว้น
ในเขตลุ ม ่ เจ้าพระยาก่อนเกิดศูนย์กลางการปกครอง
ที่กรุงศรีอยุธยา ซึ่งเริ่มมีการค้าทางทะเลโดยที่ม
เมืองท่าภายในเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจกับโพ้น
ทะเลอย่างชัดเจน และภายหลังจากความรุ่งเรือง
ของการค้าทางทะเลของจีนถึงขีดสุดในช่วงสมัย
ราชวงศ์ซุ้งในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖–๑๙
การกระจายของนิทานท้องถิ น ่ ในโครงเรื อ ่ ง
แบบที่ ๓ คือ การแข่งขันยกขันหมากทางเรือส�ำเภา
ของเจ้ากรุงจีนและชายชาวพื้นเมือง จนเกิดรบกัน
จนขบวนขัน หมากกลายเป็นเกาะและภูเขาต่างๆ
ในท้องถิ่น เป็นเรื่องที่แพร่หลายที่สุด เรื่องตาม่อง
ไล่ ที่เกิดขึ้นในบริเวณที่เป็นอ่าวไทยภายใน ซึ่งเป็น
เขตชายฝั่งทะเล พบว่าเล่ากันอย่างแพร่หลายจน
กระทั่งปัจจุบัน พบว่ามีโครงเรื่องคล้ายกันนี้บริเวณ
ภาคตะวันออกของไทยต่อกับเขตกัมพูชาใกล้เขต
ฝั่งทะเลเช่นกัน และภายในผืนแผ่นดินที่ท้องที่ ใน
จังหวัดลพบุรี เขตนครสวรรค์ต่อกับชัยนาทและ
สุพรรณบุรี บริเวณเหล่านี้มีภูเขาที่เหมาะแก่การ
เป็นจุดสังเกตในท้องถิ่น หลายแห่งและเป็น บ้าน
เมืองที่เกิดขึ้นตั้งแต่ สมัยทวารวดี-ลพบุรี-อโยธยา
-กรุงศรีอยุธยา ในบริเวณจังหวัดลพบุรี มีข้อที่น่า
สังเกตว่า โครงเรื่องแม้จะเกิดเหตุขึ้นในทะเล ม
ขบวนเรือส�ำเภาเป็นองค์ประกอบหลัก แต่การแพร
กระจายของเรื่องเล่าประเภทนี้ก็เกิดขึ้นในแผ่นดิน
ภายในด้วย ท�ำให้ทราบว่ามีร่องรอยของการติดต่อ
สัมพันธ์ระหว่างผู ค ้ นในท้องถิ น ่ ภายในกับนักเดินทาง
หรือชาวเรือในอ่าวไทยที ต ่ อ ้ งเดินเรือเลียบชายฝั ง ่ ทั ง ้
ตะวันตกและตะวันออกของอ่าวไทย ที่อาจกล่าวได
ว่า ย้อนกลับไปได้ถึงสมัยทวารวดีจนถึงสมัยลพบุร
เป็นต้นมา
ต�ำนานในเนื้อหาที่เกี่ยวกับ วีร บุ รุ ษ ทาง
วัฒนธรรม [Culture Hero] จัดเอากลุ่มเรื่องเจ้า
อู่หรือท้าวอู่ทองเป็นผู้น�ำคนส�ำคัญ ส่วนผู้น�ำทาง
วัฒนธรรมเฉพาะท้องถิ่นหรือชุมชน ได้แก่ ต�ำนาน
คุณปู ศ ่ รีราชา และทั ง ้ สองเรื อ ่ งเริ ม ่ ต้นจากเป็นพ่อค้า
จีนหรือนักผจญภัยที่มากับเรือส�ำเภา
ต�ำนานหรือเรื่องเล่าทั้งสามกลุ่มแบบเรื่อง
สะท้อนออกมาอย่างชัดเจนว่า เป็นเรื่องของ ความ
สัมพันธ์ระหว่างคนพื้นเมืองที่มีอยู่เดิมกับคนกลุ่ม
ใหม่ท ม ี่ าจาก “จีน” โดยใช้ “เรือส�ำเภา” เป็นพาหนะ
ติดต่อระหว่างภูมิภาค กลุ่มคนจีนเหล่านี้ไม่ระบุว่า
มาจากที่ ใดของประเทศจีน แต่ควรจะเป็นบริเวณ
ที่ติดทะเลทางใต้ซึ่งมีหลายแห่ง ความสัมพันธ์อีก
อย่างหนึ่งที่แสดงออกอย่างชัดเจนคือ การแต่งงาน
ระหว่างกษัตริย์พื้นเมืองและธิดากษัตริย์จีน ซึ่งเป็น
ลักษณะการผนวกความสัมพันธ์แบบกินดองหรือ
การแต่งงานระหว่างผู้ปกครองของบ้านเมืองต่างๆ
เรือส�ำเภาจากผ้าพระบฏรูปมงคลร้อยแปดในพระพุทธบาท
วาดในสมัยรัชกาลที่ ๓ จากวัดบ่อพุ อ�ำเภอท่าใหม่ จังหวัด
จันทบุรี ที่ดูจะมีความเสมือนจริงใกล้เคียงกับเรือส�ำเภา
หัวแดงในยุคนั้น
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธ
17