สารัตถะวิจัย ปี3 E-Book สารัตถะ ปี3 | Page 11

10 สารัตถะวิจัยเชิงพื้นที่ : นวัตกรรมเพื่อสังคมและชุมชน
2.2 กระบวนการหนุนเสริมงานวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ ทั้งการพัฒนาศักยภาพ นักวิจัยเชิงพื้นที่ การประชุมทีมวิจัยเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและการวางแผนการท�ำงานอย่าง ต่อเนื่องร่วมกัน มีการออกแบบเครื่องมือ วิธีการเก็บข้อมูลอย่างถูกต้องและสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีการท�ำงาน และประเด็นที่ต้องการศึกษาอย่างรอบด้าน มีการ ตรวจสอบข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลผ่านเวทีผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก เพื่อช่วยใน กระบวนการวิจัย การจัดระบบพี่เลี้ยงนักวิจัย กระบวนจัดการงบประมาณโครงการให้เป็น ไปอย่างถูกต้อง โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ
2.3 ระบบก�ำกับ ติดตามงานวิจัย เพื่อสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือให้นัก วิจัยสามารถด�ำเนินงานวิจัยให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ รวมทั้งการมีกระบวนการติดตาม ข้อมูล และการตรวจสอบข้อมูลร่วมกันกับแหล่งทุนอย่างต่อเนื่อง
2.4 ระบบการเผยแพร่ผลงานวิจัยและการน�ำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์ ถือว่า เป็นกระบวนการส�ำคัญที่จะสะท้อนผลการพัฒนาได้อย่างชัดเจน ในกระบวนการนี้ต้อง อาศัยการสื่อสารข้อมูลงานวิจัยที่เป็นผลที่เกิดกับพื้นที่ให้แก่ผู ้ใช้ประโยชน์และขยายผลใน เชิงของการพัฒนาให้มากขึ้น เช่น มีแหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่อยู่ในฐาน TCI กลุ่ม 1 และร่วมกับคณะจัดประชุมทางวิชาการเพื่อน�ำเสนอผลงาน และผลักดันการน�ำผลการ วิจัยไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ อีกด้วย
3 . ปัจจัยด้านผลผลิต / ผลที่เกิดขึ้น ( Output ) ส�ำหรับปัจจัยด้านผลผลิตที่สะท้อน ถึงความส�ำเร็จของการด�ำเนินงาน มีดังนี้
3.1 การพัฒนาคน ได้แก่ นักวิจัยและทีมวิจัยมีทักษะ ความสามารถในการ ท�ำวิจัยเชิงพื้นที่มากขึ้น ตั้งแต่กระบวนการวิเคราะห์ปัญหาที่ได้จากการพัฒนาโจทย์วิจัย เชิงพื้นที่ และการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุน การด�ำเนินการวิจัย การเก็บข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูล การบันทึกและการเขียนรายงาน รวมทั้งการเขียนบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่ผู้ใช้ประโยชน์
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา