สารัตถะวิจัยเชิงพื้นที่: นวัตกรรมเพื่อสังคมและชุมชน
11
3.2 องค์ความรู ้จากการวิจัย ส�ำหรับองค์ความรู ้ที่เกิดจากงานวิจัยในลักษณะ ของงานวิจัยเชิงพื้นที่ เป็นองค์ความรู้ที่จับต้องได้ ขยายผลได้ที่ค่อนข้างเป็นรูปธรรม มีกา รบูรณาการศาสตร์เพื่อการพัฒนาลักษณะองค์ความรู้ จึงมีทั้งมิติของวิธีการจัดการกับ ปัญหาด้วยการใช้องค์ความรู ้ในศาสตร์สาขาต่างๆ เกิดนวัตกรรมในการแก้ปัญหาพื้นที่ และ เครื่องมือวิจัยเพื่อท้องถิ่นไปใช้ในการแก้ไขปัญหาอื่นๆ รวมทั้งการได้แนวทางการ พัฒนาการจัดการปัญหาและการพัฒนาต่อยอดโครงการวิจัยในอนาคต และมีการยกระดับ การท�ำงานที่สูงขึ้น และขยายฐานหรือองค์ความรู้ไปสู่ชุมชนท้องถิ่นอื่นๆ
3.3 เกิดการพัฒนาเครือข่ายนักวิจัยระดับมหาวิทยาลัยและชุมชน ตลอดจน กลไก การจัดการปัญหาในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถจัดการปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเกิดกลุ่มคนท�ำงานวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ ส่งผลให้พื้นที่ได้รับการพัฒนาและเกิดความ ศรัทธาในสถาบัน
3.4 เกิดการร่วมมือรวมพลังของทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่ เช่น การสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น( อปท.) และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในชุมชน ที่จะส่งผลให้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการแก้ไขปัญหาในระยะยาว
3.5 เกิดผลงานที่มีการน�ำไปใช้ประโยชน์ ภาพรวมผลงานที่มีการน�ำไปใช้ ประโยชน์ภายใต้การพัฒนาเชิงพื้นที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ทั้ง 3 ปี ได้พัฒนาโครงการเชิงพื้นที่จ�ำนวนทั้งสิ้น 42 โครงการ เป็นโครงการที่ด�ำเนินการเรียบร้อย แล้ว 36 โครงการ และได้น�ำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในลักษณะเผยแพร่ในวารสาร ระดับชาติ จ�ำนวน 4 บทความ น�ำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ 6 บทความ ระดับ นานาชาติ 4 บทความ น�ำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ 5 โครงการ และใช้ประโยชน์ เชิงสาธารณะ และเชิงนโยบาย 23 โครงการ และเกิดการบูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ กับการเรียนการสอนในรายวิชาปัญหาพิเศษ หรือรายวิชาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการบริการ วิชาการและการท�ำนุบ�ำรุงศิลปวัฒนธรรม
Research and Development Institute Nakhon Ratchasima Rajabhat University