การท่องเที่ยวทางน�้ำกับการพัฒนาการท่องเที่ยวไทย
แหล่งท่องเที่ยวตามแม่น้ำลำคลอง
THAILAND TRAVEL แหล่งท่องเที่ยวตามแม่น้ำลำคลองที่ได้รับความนิยม
แม่น้ำกก เชียงราย
แม่น้ำปายและแม่น้ำสาละวิน แม่ฮ่องสอน
บึงโขงหลง และหนองกุดทิง
แม่น้ำสองสี อุบลราชธานี
ตลาดน้ำดำเนินสะดวก ราชบุรี
ศักยภาพความพร้อมของการท่องเที่ยว ทางล�ำน�้ำ
ปัจจัยเสริม
• ไทยมีแหล่งท่องเที่ยวทางล�ำน�้ำอยู ่จ�ำนวนมากและมีความหลาก หลายซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถชื่นชมได้ทั้งความสวยงามของ ธรรมชาติ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยทั้งในเมืองกรุง และชนบท การผจญภัยด้วยการล่องแก่งหรือการแวะพักค้าง ในบรรยากาศป่าริมแม่น�้ำ เป็นต้น ซึ่งเมื่อเทียบกับจ�ำนวนแม่น�้ำ ล�ำคลองที่มีอยู ่ของประเทศไทย ประกอบกับจ�ำนวนนักท่องเที่ยว ที่ใช้บริการล่องเรือตามแม่น�้ำล�ำคลองที่ยังมีสัดส่วนน้อยแล้ว อาจกล่าวได้ว่า ประเทศไทยยังมีโอกาสในการพัฒนาการ ท่องเที่ยวตามแม่น�้ำล�ำคลองในสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆ ได้อีกมาก
• มีการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวล�ำน�้ำภายใต้ข้อตกลงอาเซียน และ GMS ซึ่งประเทศไทยเป็นทั้งเจ้าภาพในการพัฒนาเส้นทาง ทางล�ำน�้ำ 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทาง Mekong Discovery Trail ที่ เชื่อมโยงบุรีรัมย์-อุบลราชธานี-จ�ำปาสัก สปป. ลาว และ สะตรึงแตรง กัมพูชา เน้นในเรื่องของธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เส้นทาง Mekong River Cruising in the Golden Triangle เชื่อมโยงเชียงราย-เชียงของ-บ่อแก้ว-ปากเบ็ง-หลวง พระบาง สปป. ลาว เน้นการท่องเที่ยวทางเรือ Cruise เพื่อชม ธรรมชาติและวัฒนธรรม และกิจกรรมการผจญภัย รวมทั้งการ มีส่วนร่วมในการพัฒนาเส้นทางการล่องเรือทางน�้ำอื่นๆ อาทิ เส้นทาง Mekong Tea caravan Trail East ที่จีนเป็นเจ้าภาพ เชื่อมโยงระหว่างเมืองคุนหมิง ของจีน มายังหลวงพระบาง ของ สปป. ลาว และบริเวณสามเหลี่ยมทองค�ำของไทย ทั้งหมดนี้เพื่อ รองรับการเติบโตของการท่องเที่ยวอาเซียนที่ไทยวางต�ำแหน่งไว้ เป็นศูนย์กลาง โดยเฉพาะเส้นทางที่เชื่อมต่อกับประเทศจีนซึ่ง เป็นนักท่องเที่ยวรายใหญ่ของโลก
คลองสังเน่ห์ พังงา
คลองร้อยสาย สุราษฎร์ธานี
เกาะยอ( ทะเลสาบสงขลา)
ตลาดน้ำอัมพวา สมุทรสงคราม
ข้อจ�ำกัด
• คุณภาพน�้ำปัญหาส่วนใหญ่มาจากการทิ้งขยะลงคลองของ ประชาชนที่อาศัยอยู่ตามริมคลองรวมทั้งการลักลอบปล่อยน�้ำ เสียของบรรดาโรงงานและบ้านเรือนที่ตั้งตามริมแม่น�้ำ
• การบริหารจัดการล�ำน�้ำ ที่เป็นปัญหากับการให้บริการท่องเที่ยว ตามแม่น�้ำล�ำคลอง อาทิ เวลาเปิด-ปิดประตูน�้ำตามเส้นทาง เดินเรือตามล�ำคลอง ปัญหาเรื่องการสร้างเขื่อนกั้นน�้ำที่รุกล�้ำ เข้ามาในเขตพื้นที่คลองจนเหลือพื้นที่ส�ำหรับเดินเรือน้อยมาก และบางแห่งท�ำลายทัศนียภาพริมฝั ่งคลอง รวมไปถึงปัญหาการ ตื้นเขินของคลองในเส้นทางที่มีศักยภาพพัฒนาให้เป็นเส้นทาง ท่องเที่ยวได้
• ท่าเทียบเรือ ในเขตกรุงเทพมหานครมีท่าเทียบเรือโดยสาร สาธารณะที่กรมเจ้าท่าก่อสร้างและปรับปรุงทั้งหมด 144 แห่ง เป็นท่าเทียบเรือในแม่น�้ำเจ้าพระยา 123 แห่ง และท่าเทียบเรือ ในคลองต่างๆ อีก 21 แห่ง นอกจากนั้นเป็นท่าเทียบเรือของ เอกชน ซึ่งไม่เพียงพอต่อจ�ำนวนเรือท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น และ ความต้องการขยายเส้นทางท่องเที่ยว ขณะที่ท่าเทียบเรือของ เอกชนต้องเสียค่าบริการสูงด้วยพื้นที่ริมฝั่งแม่น�้ำเจ้าพระยาที่ ค่อนข้างจ�ำกัด ส่วนท่าเทียบเรือในภูมิภาคจะอยู่ตามเมือง ท่องเที่ยวต่างๆ จากข้อมูลของกรมเจ้าท่า มีท่าเทียบเรือโดยสาร เพื่อการท่องเที่ยวทั่วประเทศ( ไม่นับรวมกรุงเทพมหานคร ภาคใต้ และภาคตะวันออกที่เป็นชายฝั่งทะเล) รวมทั้งสิ้น ประมาณ 90 แห่ง กระจายตามเมืองท่องเที่ยวในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
• คุณภาพการให้บริการ ที่ผ่านมามักจะมีปัญหาเกิดขึ้นเกี่ยวกับ การให้บริการที่เอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยวทั้งในเรื่องของราคา ระยะทางและระยะเวลาที่ไม่เป็นไปตามข้อตกลง ปัญหาคุณภาพ
60 รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว