ASEAN Connect
การเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติในอาเซียน( ASEAN Hub) ที่นักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนใหญ่เดินทางมาแวะพักประเทศไทยทั้งการ เป็นจุดหมายปลายทางหรือเป็นทางผ่านไปยังประเทศอื่นๆ ในอาเซียน
• เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอ�ำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวให้พักค้างคืนในประเทศไทยหรือจับจ่าย ใช้สอยในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ก่อนเดินทางต่อไปยังประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอาเซียน และเป็นจุดแวะพักแก่นักท่องเที่ยวอาเซียนก่อน เดินทางไปแหล่งท่องเที่ยวหลักในประเทศซึ่งส่วนใหญ่อยู่ไกลจาก ด่านข้ามแดน อาทิ การพัฒนาจุดแวะพักส�ำหรับนักท่องเที่ยวอาเซียน / ชาวต่างชาติที่เดินทาง โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ชายแดนเพื่อเป็น จุดแวะพักให้แก่นักท่องเที่ยวนอกอาเซียนก่อนเดินทางข้ามแดนไป ท่องเที่ยวในประเทศเพื่อนบ้าน
• เร่งพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางการบินของประเทศ เพื่อรองรับกับโอกาสในการเป็นศูนย์กลางการเดินทางทางอากาศ สู ่อาเซียน ทั้งการเร่งรัดการขยายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จัดท�ำ ท่าอากาศยานหลัก / รองเพื่อรองรับปริมาณนักท่องเที่ยวที่เพิ่ม ขึ้นอย่างเป็นระบบ เช่น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ดอนเมือง- อู ่ตะเภา ในต่างจังหวัด เช่น ภูเก็ต-กระบี่-สุราษฎร์ธานี การปรับปรุง ท่าอากาศยานในภูมิภาคให้เป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่ เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านตามการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ อาทิ ท่าอากาศยานอู ่ตะเภา และท่าอากาศยานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งการสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงการเดินทางระหว่าง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยาน อู ่ตะเภา เพื่อใช้เป็นฐานในการกระจายนักท่องเที่ยวไปยังพื้นที่ต่างๆ ภายในภูมิภาคและระหว่างภูมิภาค
• สนับสนุนให้มีการจัดท�ำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยว ทางน�้ำและทางบก เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างกัน ซึ่งครอบคลุม ไม่เฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน แต่ควรเพิ่มการให้ความ ส�ำคัญกับความร่วมมือในการก�ำหนดเส้นทางท่องเที่ยวและร่วมกัน ก�ำหนดมาตรฐานในการเดินทางเข้าออกระหว่างประเทศ โดยค�ำนึง ถึงมิติด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง และความยั่งยืนของระบบการ ท่องเที่ยวของภูมิภาค
• ส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนด้านการท่องเที่ยวไทยใน อาเซียน เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงการท่องเที่ยวระหว่างประเทศไทย กับประเทศในอาเซียนมากขึ้น ทั้งในรูปของการจัดท�ำแพ็คเกจ การท่องเที่ยวร่วมกันและการส่งต่อนักท่องเที่ยวระหว่างกัน ในรูปแบบ ของ Combined Packages ที่เชื่อมโยงนักท่องเที่ยวจากเมืองหลัก สู ่เมืองรอง( Capital to Local: C2L) ซึ่งเป็นที่นิยมของแต่ละประเทศ รวมทั้งสนับสนุนการเชื่อมโยงในลักษณะเมืองรองสู ่เมืองรอง( Local to Local: L2L) ที่สามารถเชื่อมโยงได้ทั้งทางอากาศและทางบก ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันสายการบินไทยแอร์เอเชียได้ก�ำหนดให้
ท่าอากาศยานดอนเมืองเป็นจุดพักและเชื่อมโยงนักท่องเที่ยว อินโดนีเซียสู ่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน และจังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นประตูภาคตะวันออกที่เชื่อมโยงกับประเทศกัมพูชาและ เวียดนาม ที่สามารถกระจายนักท่องเที่ยวสู ่จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และกรุงเทพฯ เป็นต้น ซึ่งช่วยให้ประเทศไทยมีบทบาท ที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในการเป็นศูนย์กลางรองรับและกระจายนักท่องเที่ยว ในภูมิภาคอาเซียน
• ส่งเสริมการจัดเส้นทางการท่องเที่ยวระหว่างประเทศไทยกับ ประเทศกลุ ่ม CLMV ที่ได้มีการจัดเส้นทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ในกลุ ่ม CLMV( Multicountry Tour Routes) ส�ำหรับกลุ ่มนักท่องเที่ยว ที่ต้องการเดินทางหลายประเทศในคราวเดียวกัน โดยใช้ทางหลวง อาเซียนเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทาง และการล่องเรือทางแม่น�้ำ ไว้ทั้งหมด 11 เส้นทาง ส�ำหรับเส้นทางที่เชื่อมโยงกับประเทศไทย มีอยู ่9 เส้นทาง โดย 2 เส้นทางที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพหลัก ได้แก่ เส้นทาง Mekong Discovery Trail ที่เชื่อมโยง บุรีรัมย์-อุบลราชธานี- จ�ำปาสัก สปป. ลาว และสะตรึงแตรง กัมพูชา และเส้นทาง Mekong Cruising in the Golden Triangle ที่เชื่อมโยง เชียงราย-เชียงของ- บ่อแก้ว-ปากเบ็ง-หลวงพระบาง สปป. ลาว ซึ่งเส้นทางนี้จะเน้น การท่องเที่ยวทางเรือ Cruise ระหว่างประเทศที่มีระยะเวลาการเดินทาง หลายวันล่องตามลุ ่มแม่น�้ำโขง หรือการเดินทางภายในหนึ่งวันเพื่อ ชมธรรมชาติและวัฒนธรรม รวมทั้งกิจกรรมการผจญภัย
• ปรับกลยุทธ์เพื่อให้การมาเที่ยวประเทศไทยเป็นมากกว่าการ มาเพื่อท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว ส�ำหรับนักท่องเที่ยวในประเทศ กลุ่ม CLMV เนื่องจากนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มีศักยภาพในการ ใช้จ่าย มีโอกาสในการเติบโตสูง และมีวัตถุประสงค์การเดินทาง มาประเทศไทยที่หลากหลาย การลงทุนและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ขนาดใหญ่ที่มีสินค้าและบริการพร้อมสิ่งอ�ำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ตอบสนองวัตถุประสงค์การเดินทางของแต่ละชาติ จะช่วยยกระดับ ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอื่นนอกเหนือจากท่องเที่ยวพักผ่อน
• การส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนไทยที่ได้เปรียบในการเป็น ผู ้น�ำด้านการท่องเที่ยวเหนือ CLMV
• รัฐบาลสนับสนุนให้ภาคธุรกิจไทยเข้าไปลงทุนในพื้นที่เขต เศรษฐกิจพิเศษชายแดน เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับประเทศ เพื่อนบ้าน และขยายฐานสู ่ประเทศเพื่อนบ้านที่ยังต้องการการลงทุน การพัฒนาทางการท่องเที่ยวในระยะต่อไป
สุดท้ายคงเป็นเรื่องของบทบาทภาคเอกชนที่ต้องกระตือรือร้นใน การเรียนรู้และปรับตัวเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ที่ส�ำคัญคือ ต้องรักษาคุณภาพการบริการให้เป็นที่ประทับใจ ไม่เอา เปรียบนักท่องเที่ยวร่วมกันสอดส่องการประกอบธุรกิจท่องเที่ยว ที่ผิดกฎหมายให้เข้าสู ่ระบบ และร่วมให้ข้อมูลและข้อเสนอแนะที่เป็น ประโยชน์แก่ภาครัฐในการน�ำไปเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องต่อไป
รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว
45