รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว ฉบับที่ 2 ASEAN CONNECT | Page 46

ASEAN Connect
โอกาส
• ท�ำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่อยู ่ศูนย์กลางของอาเซียนและมีเขตแดนติดต่อกับหลายประเทศในอาเซียน( สปป. ลาว เมียนมา กัมพูชา มาเลเซีย) ที่สามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศอื่นๆ ทั้งในภูมิภาคเดียวกันและประเทศในภูมิภาคอื่นได้ทั้งทางบก ทางน�้ำ และทางอากาศ โดยเฉพาะ ทางบกที่มีการเดินทางผ่านเข้า-ออกตามด่านชายแดนทั้งหมด 28 ด่าน โดยแต่ละปีมีการเดินทางเข้าออกประเทศไทยกว่า 10 ล้านคน และมีท่าอากาศยานในประเทศกระจายไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศและประเทศใกล้เคียง จ�ำนวน 66 แห่ง โดยเป็นท่าอากาศยานที่รองรับ เครื่องบินพาณิชย์ 35 แห่ง และเป็นสนามบินนานาชาติ 12 แห่ง

สถิติการเดินทางเข้า- ออกราชอาณาจักร โดยใช้บัตรผ่านแดน( Border Pass)

ปี
เมียนมา
เข้า
ออก
สปป. ลาว
เข้า
ออก
กัมพูชา
เข้า
ออก
มาเลเซีย
เข้า
ออก
เข้า
รวม
ออก
2554
516,931
454,362
1,139,943 1,093,389 6,226,221 6,071,130
455,718
430,852 13,088,029
12,916,876
2555
1,049,293
987,046
1,113,867 1,079,999 6,058,505 5,865,591
386,014
363,175 13,433,479
13,270,774
2556 1,533,583 1,473,370 883,327 858,259 1,432,085 1,357,392 534,356 527,774 8,595,725 8,669,190 2557 2,589,722 2,415,286 1,091,485 1,072,824 1,481,770 1,417,955 479,214 456,806 10,045,147 9,946,462 2558 3,155,337 2,979,097 1,149,544 1,159,039 1,733,838 1,669,306 536,779 504,701 11,329,585 11,268,021
ที่มา: ส�ำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
• มีการขยายตัวของเที่ยวบิน( Low Cost) ภายในประเทศและ ระหว่างประเทศ โดยใช้ไทยเป็นจุดศูนย์กลางในการบินเชื่อมต่อ ไปภูมิภาคต่างๆ ของไทย หรือประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน เพื่อรองรับการเติบโตของนักท่องเที่ยวที่จัดการเดินทางด้วยตนเอง( FIT) ที่มีพฤติกรรมท่องเที่ยวอย่างประหยัดมากขึ้น
• ความพร้อมของบริการด้านการท่องเที่ยว ทั้งจ�ำนวนโรงแรม ที่พักที่มีอยู ่มากมายหลายระดับที่พร้อมให้บริการในราคาที่ยอมรับ ความสะอาดและพอเพียงของสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ และการให้บริการด้วยความเป็นไทยที่เป็นเอกลักษณ์และเสน่ห์ของ บริการด้านการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ยังมีความพร้อมในการให้บริการ แก่นักท่องเที่ยวกลุ ่มเฉพาะ( Niche) เห็นได้จากวัตถุประสงค์ในการ เดินทางมาไทย นอกเหนือจากท่องเที่ยวแล้ว มีการเดินทางมาเพื่อ ท�ำธุรกิจ และจับจ่ายซื้อสินค้าเป็นวัตถุประสงค์ต้นๆ ในการเดินทาง
• ประเทศไทยมีความร่วมมือกับกลุ ่มสมาชิกอาเซียนมาโดยตลอด ทั้งการประสานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภาคลุ่มแม่น�้ำโขง( GMS) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี- เจ้าพระยา- แม่โขง( ACMES) และความร่วมมือเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย- มาเลเซีย-ไทย( IMT-GT) เป็นต้น
• หน่วยงานภาครัฐให้ความส�ำคัญและสนับสนุนการส่งเสริมให้ ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเดินทาง ของนักท่องเที่ยวจากภูมิภาค อื่น ๆ และการเชื่อมโยงและกระจายนักท่องเที่ยวภายในกลุ ่มอาเซียน โดยก�ำหนดให้ไทยเป็น ASEAN Hub ทั้งทางการบิน ทางบก และทางน�้ำ
ข้อจ�ำกัด
• แรงงานด้านการท่องเที่ยวของไทยมีความขาดแคลน ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ขณะที่แรงงานใหม่ที่จบการศึกษา สาขาโรงแรมและการท่องเที่ยวจะรู้แต่ทฤษฎี แต่ยังมีข้อจ�ำกัด ในด้านประสบการณ์การท�ำงาน รวมถึงความอ่อนทักษะด้านภาษา ในการสื่อสารกับผู ้รับบริการชาวต่างชาติ
• ความสามารถด้านการแข่งขันของแหล่งท่องเที่ยวไทยกับประเทศ ในอาเซียนที่มีแนวโน้มลดลง จากปัญหาความเสื่อมโทรมของ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ตลอดจนการขาดความเป็นระเบียบของ แหล่งท่องเที่ยว ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น
• การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในประเทศเพื่อนบ้านที่ดึงดูดใจมากกว่า แหล่งท่องเที่ยวของไทย
ประเด็นที่ควรให้ความส�ำคัญ
• การก�ำหนดต�ำแหน่ง( Position) ของประเทศไทยในอาเซียน ที่ชัดเจน โดยการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยว เพื่อพักผ่อนสุดสัปดาห์ของประชากรอาเซียน( ASEAN Weekend Destination) ที่สามารถเดินทางมาท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ รวมทั้งซื้อสินค้า ประชุม / สัมมนาและจัดแสดงสินค้า การรักษาพยาบาล และการเสริมสร้างสุขภาพ หรือการท่องเที่ยวทางบันเทิง( สวนสนุก Theme Park เป็นต้น) หรือเป็นจุดแวะพักชั้นเยี่ยมเพื่อเดินทาง ต่อไปยังประเทศอื่นๆ ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง
44 รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว