รายงาน GG 62 Full Report สำหรับผลิต (1) | Page 9

(๖) ๙) องค์การบริหารส่วนตำบลวังท่าดี อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ ๑๐) องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะขันธ์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช ๕. คณะที่ปรึกษามีข้อสังเกตดังน ๕.๑ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยส่วนใหญ่ในประเทศไทยยังไม่ให้ความสำคัญกับการม ส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองท้องถิ่นของสตรี ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส ถือเป็นความท้าทายในการตอบ โจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติที่มีปรัชญาไม่ทอดทิ้งใครไว้เบื้องหลัง รวมทั้งไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการออกแบบและปรับปรุงอาคารสำนักงานด้วยแนวคิด อารยสถาปัตย์ที่เป็นมิตรต่อประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะผู้พิการ คนชรา และสตรีมีครรภ ๕.๒ โครงการนวัตกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับปัญหา และอุปสรรคที่ปรากฏตามแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กล่าวคือ โครงการนวัตกรรมไม่สะท้อน สภาพปัญหาที่แท้จริงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีลักษณะเป็นโครงการที่ออกแบบและดำเนินการ เพื่อส่งเข้าร่วมการประกวดรางวัลธรรมาภิบาลต่าง ๆ เท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวก ต่อพื้นที่และประชาชน นอกจากนี้ เมื่อนักวิจัยภาคสนามลงพื้นที่เพื่อพิจารณาเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมและ สัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลับพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่ง ไม่สามารถแสดงหลักฐานเชิงประจักษ์อันนำมาสู่โครงการนวัตกรรมได้อย่างชัดเจน โดยส่วนใหญ่เป็นเพียง การนำเสนอ “เรื่องเล่า (Anecdote)” เกี่ยวกับ “ความเดือดร้อนของประชาชน” ที่ผลักดันให้เกิดโครงการ นวัตกรรม แต่ไม่มีข้อมูลหรือการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงลึกเกี่ยวกับความเดือดร้อนนั้น และเนื่องจากองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งไม่สามารถแสดงหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ก่อให้เกิดโครงการนวัตกรรมได้ จึงทำให ไม่สามารถอธิบายผลกระทบต่อประชาชนหรือผลสัมฤทธิ์ของโครงการได้อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น โครงการ นวัตกรรมด้านการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งไม่สามารถแสดงให้เห็นพัฒนาการของ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนได้ หรือโครงการนวัตกรรมด้านสุขภาพไม่สามารถแสดงให้เห็นถึง ผลกระทบในเชิงบวกต่อประชาชนในภาพรวมได ๕.๓ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถสร้างความร่วมมือกับองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอาณาเขตติดกันเพื่อจัดบริการสาธารณะร่วมกันได้ โครงการนวัตกรรมท้องถิ่น จึงปรากฏเป็นรูปแบบการจัดบริการและกิจกรรมสาธารณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใดแห่งหนึ่ง ดำเนินการเพียงฝ่ายเดียว ๕.๔ แม้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งจะมีศูนย์ข้อมูลอำนวยความสะดวกให้แก ประชาชนเป็นกิจลักษณะ แต่ศูนย์ข้อมูลอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนนั้นไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูล อย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลอำนวย ความสะดวกให้แก่ประชาชนซึ่งอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ๕.๕ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยส่วนใหญ่มีคู่มือและแผนผังขั้นตอนการปฏิบัติงานตาม รูปแบบที่กระทรวงมหาดไทยและส่วนราชการกำหนดไว้ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่แล้ว ทำให้คู่มือและแผนผัง ขั้นตอนการทำงานที่พบจึงมีเนื้อหาสาระคล้ายกัน โดยมีเพียงปกคู่มือที่มีความแตกต่างกัน ในหลายกรณี คู่มือ ขององค์ กรปกครองส่ วนท้ องถิ ่ นบางแห่ งเป็ นคู ่ มื อที ่ ไ ม่ ไ ด้ ผ่ านการใช้ งานจริ ง และยั งมี องค์ กรปกครอง