ตามรอยอาทิตย์อุทัย : แผนสร้างชาติไทยสมัยคณะราษฎร | Page 18

ผ่านนโยบายเศรษฐกิจแบบชาตินิยมของไทยเป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิด การแสวงหาผลประโยชน์ด้วยการผูกขาดทางเศรษฐกิจของข้าราชการ ที่เรียกว่า “ทุนนิยมขุนนางไทย” (Bureaucratic Capitalism) หรือ “ทุนนิยมโดยรัฐ” (State Capitalism) ๙ ทั้งนี ้ อากิรา ซูอิฮิโร (Akira Suehiro) (พ.ศ. ๒๕๓๒) สรุปลักษณะ ของการพัฒนาประเทศไทยในช่วงรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม สมัย แรก (พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๗) จวบจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ และ การกลับมามีอ�ำนาจทางการเมืองอีกครั้ง (พ.ศ. ๒๔๙๑-๒๕๐๐) ว่าช่วง เวลาดังกล่าวแนวทางการพัฒนาประเทศไทยเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรม ภายใต้การน�ำของรัฐ (State-led industrialization) ด้วยทุนของรัฐและ นายทุนข้าราชการ ซึ ่งมีลักษณะข้อสรุปที่คล้ายคลึงกันกับสังศิต พิริยะ รังสรรค์ (พ.ศ. ๒๕๒๖) แต่อย่างไรก็ตาม ซูอิฮิโรชี้ให้เห็นความเปลี่ยน แปลงอย่างส�ำคัญของแนวทางการพัฒนาประเทศกับการปกครองช่วง ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลใหม่ภายหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ นั้น เป็นผู้เริ่มต้น การพัฒนาอุตสาหกรรมไทยอย่างแท้จริง ๑๐ ส�ำหรับสถานภาพทางความรู้เกี่ยวกับการศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างไทย-ญี่ปุ่นในบริบทช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ นั้น นงลักษณ์ ลิ้มศิริ (พ.ศ. ๒๕๕๘) ส�ำรวจพบว่า หัวข้อการวิจัยในช่วงเวลาดังกล่าว ครอบคลุมสาระส�ำคัญ ๔ ด้าน ดังนี้คือ ประการแรก ความสัมพันธ์ ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ประการที่ ๒ บทบาทของผู้น�ำไทยในความสัมพันธ์ ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ประการที่ ๓ ทางรถไฟสายไทย-พม่า และประการ สุดท้าย ผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่มีต่อไทย ๑๑ แต่สถานะขององค์ความรู้ว่าด้วยแนวทางในการพัฒนาประเทศ ไทยในช่วงดังกล่าว กลับไม่ปรากฏในขอบข่ายดังข้างต้น เสมือนหนึ่ง ว่าห้วงเวลาดังกล่าวถูกมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย แม้ว่ารังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ (พ.ศ. ๒๕๔๖) จะศึกษากระบวนการก�ำหนดนโยบาย 10 ณัฐพล ใจจริง