ตามรอยอาทิตย์อุทัย : แผนสร้างชาติไทยสมัยคณะราษฎร | Page 19

เศรษฐกิจของไทยช่วง พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๕๓๐ อันแสดงให้เห็นถึงความ สัมพันธ์ระหว่างไทยกับมหาอ�ำนาจทางเศรษฐกิจก็ตาม แต่ช่วงเวลา แห่งการพัฒนาประเทศภายหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ กลับถูกมองข้าม ไปด้วยข้อสรุปที่เรียบง่ายว่าอังกฤษยังคงมีอิทธิพลต่อไทยตั้งแต่ระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ จวบกระทั่ง สหรัฐอเมริกาก้าวขึ้นมามีบทบาทในฐานะผู้น�ำโลกแทนอังกฤษ ๑๒ กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ องค์ความรู้ว่าด้วยการพัฒนาประเทศไทย ภายใต้ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ญี่ปุ่นหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ได้รับ ความสนใจค้นคว้าไม่มากนัก หรือถูกมองข้ามไปด้วยค�ำอธิบายทาง วิชาการอย่างเรียบง่ายว่า ไทยตกอยู่ภายใต้อ�ำนาจของอังกฤษอย่าง ต่อเนื่องตั้งแต่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จนถึงสงครามโลกครั้งที่ ๒ จากนั้นไทยจึงเริ่มต้นพัฒนาประเทศตามแบบสหรัฐอเมริกาในช่วง สงครามเย็น ค�ำอธิบายเช่นนี้ดูราวกับว่าการพัฒนาประเทศภายใต้รัฐบาลหลัง การปฏิวัติ ๒๔๗๕ นั้น เป็นเสมือนช่วงเวลาแห่งความว่างเปล่าอันเป็น ค�ำอธิบายที่ละเลยบริบทการก้าวขึ้นเป็นมหาอ�ำนาจของญี่ปุ่นในเอเชีย และการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างไทย-ญี่ปุ ่นในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ไปอย่างน่าเสียดาย การก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางอ�ำนาจใหม่ในเอเชียของญี่ปุ ่น เริ่มต้น จากการสร้างความเป็นสมัยใหม่ในสมัยเมจิ (Meiji Era, พ.ศ. ๒๔๑๑- ๒๔๕๕) ด้วยการด�ำเนินการพัฒนาตามแบบตะวันตก (Westernization) ญี่ปุ่นมีการเมืองสมัยใหม่อันรวมศูนย์ที ่มั่นคงภายใต้รัฐธรรมนูญ เมจิ และมีการพัฒนาอุตสาหกรรม (Industrialization) ที่เริ่มต้นการ ฟื ้นฟูอุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นล�ำดับแรก เพื่อวางรากฐานให้เศรษฐกิจของ ประเทศมีความมั่นคงเป็นเบื้องแรกก่อน ควบคู่ไปกับการสร้างกองทัพ สมัยใหม่ (Militarization) อันน�ำไปสู่การแสดงแสนยานุภาพทางการ ตามรอยอาทิตย์อุทัย 11