ตามรอยอาทิตย์อุทัย : แผนสร้างชาติไทยสมัยคณะราษฎร | Page 20

ทหาร ดังเห็นได้จากญี่ปุ่นท�ำสงครามกับชาติมหาอ�ำนาจต่างๆ เช่น สงครามกับจีนในสมัยราชวงศ์ชิง (พ.ศ. ๒๔๓๗-๒๔๓๘), สงครามกับ รัสเซีย (พ.ศ. ๒๔๔๗-๒๔๔๘), การบุกเกาหลี (พ.ศ. ๒๔๕๓) ต่อมาในสมัยไทโช (Taicho Era, พ.ศ. ๒๔๕๕-๒๔๖๙) ญี่ปุ่น เกิดบรรยากาศทางการเมืองแบบประชาธิปไตยในช่วงสั้นๆ แต่ต่อมา ญี่ปุ่นประสบปัญหาความถดถอยและวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงทศวรรษ ๒๔๖๐-๒๔๗๐ กระทั่งสมัยช่วงต้นโชวะ (Showa Era, พ.ศ. ๒๔๗๐- ๒๕๓๒) ในที่สุดกองทัพได้ท�ำรัฐประหารรัฐบาลพลเรือนและเข้าครอบง�ำ รัฐบาลเพื่อก�ำหนดทิศทางการบริหารประเทศใหม่ มีการระดมประชาชน และทรัพยากรเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ ๒ ในท้ายที่สุด ๑๓ ทั้งนี้ เคนอิชิ โตมินากา (Kenichi Tominaga) (พ.ศ. ๒๕๓๔) ศึกษาการสร้างความเป็นสมัยใหม่ของญี่ปุ ่น เขาเสนอว่า การสร้างความ เป็นสมัยใหม่ของญี่ปุ่นเกิดขึ้นจากความเปลี่ยนแปลงส�ำคัญดังต่อไปนี้ การสร้างความเป็นสมัยใหม่ทางการเมือง (Political modernization) การสร้างความเป็นสมัยใหม่ทางเศรษฐกิจ (Economics modernization) โดยเฉพาะการอุตสาหกรรมและความเป็นสมัยใหม่ทางสังคมวัฒนธรรม (Social and Cultural modernization) อันเป็นกระบวนการท�ำให้สังคม ปิดของชนบทเปลี่ยนไปสู่สังคมเปิดแบบเมือง ตลอดจนการเปลี่ยนจาก วัฒนธรรมความเชื่อสิ่งเหนือธรรมชาติ ความไร้เหตุผลไปสู่ความเป็น วิทยาศาสตร์และความมีเหตุมีผล ๑๔ เมื่อกล่าวถึงหนึ่งในนโยบายที่ส�ำคัญของรัฐบาลคณะราษฎร ภาย หลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ แล้ว นโยบายสร้างชาติที่มีความชัดเจนในช่วง รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม (พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๗) มีผลต่อความ เปลี่ยนแปลงของสังคมไทยอย่างกว้างขวางในหลากหลายมิติ แต่การศึกษาค้นคว้านโยบายสร้างชาติที่ผ่านมามักถูกศึกษา ตีความหมายไปในแง่ลบ เช่น รอง ศยามานนท์ (พ.ศ. ๒๕๒๐) แถมสุข 12 ณัฐพล ใจจริง