Telecom & Innovation Journal 1041 | Page 6
TELECOM & INNOVATION JOURNAL วันศุกร์ที่ 16 กันยายน- วันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2559
6 ภาระกิจเพื่อชาติ
TELECOM & INNOVATION JOURNAL วันศุกร์ที่ 16 กันยายน- วันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2559
ส�ำหรับประเทศต่างๆใน ASEAN ผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลก�ำลัง เปลี่ยนรูปแบบอุตสาหกรรมทุกอุตสาหกรรม สร้างความเป็นอยู ่และ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งขับเคลื่อนความเจริญก้าวหน้าไปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ASEAN มีโอกาสในการก้าวกระโดดไปสู่การ เป็นผู ้น�ำเศรษฐกิจดิจิทัลของโลกที่ก�ำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ด้วยปัจจัยพื้นฐานหลายประการที่มีพร้อมอยู่แล้วในขณะนี้คือ
• เศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ซึ่งมีจีดีพีมูลค่า 2.5 ล้านล้าน เหรียญสหรัฐฯ ด้วยการเติบโตร้อยละ 6 ต่อปี
• มีประชากรที่สามารถอ่านออกเขียนได้จ�ำนวนมากกว่า 600 ล้านคน ซึ่งร้อยละ 40 มีอายุต�่ำกว่า 30 ปี
• เข้าถึงสมาร์ทโฟนประมาณร้อยละ 35 และก�ำลังเติบโต ขึ้นอย่างรวดเร็ว
• มีกลุ ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ( ICT) ที่พัฒนาขึ้นเป็นอย่าง มากพร้อมทั้งมีสถิติติดตามการเกิดนวัตกรรมและการลงทุนใน เทคโนโลยีใหม่ๆ
• สนับสนุนให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ และการไหลเวียนของเงินทุนได้อย่างเสรี
มีการคาดการณ์จากผลการวิจัยหลายส�ำนักว่า ภายในปี พ. ศ. 2568 การปฏิวัติดิจิทัลอาจเปลี่ยนรูปแบบการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันของ ประชาชนใน ASEAN ท�ำให้การใช้เงินสดกลายเป็นเรื่องที่ล้าสมัย และเมืองมีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้น มีความปลอดภัยในการใช้ชีวิต มากขึ้น อาเซียนจึงมีโอกาสในการน�ำร่องการพัฒนาบริการดิจิทัลรูป แบบใหม่ด้วยมีประชากรวัยรุ่นจ�ำนวนมากที่ใช้สมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการด้านการเงินผ่านโทรศัพท์ เคลื่อนที่และ e-commerce ซึ่งมีความก้าวหน้าทันสมัย
ทศวรรษนับจากนี้ ภาคการผลิตของอาเซียนมีแนวโน้มที่จะน�ำ เทคโนโลยี“ ยุคอุตสาหกรรม 4.0” ที่ช่วยให้เครื่องจักรท�ำงานอย่าง สอดคล้องกลมกลืนเป็นสายการผลิตเดียวกันกับผลิตภัณฑ์ที่ก�ำลัง ผลิตมาใช้งาน ซึ่งจะเสริมสร้างประสิทธิภาพในการท�ำงานมากยิ่ง ขึ้น มีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น และช่วยให้มีการปรับแต่งในการใช้งาน ให้มีความเฉพาะตามต้องการมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ประชาชนยัง
สามารถเข้าถึงบริการต่างๆของรัฐซึ่งเป็นระบบดิจิทัลได้ทั่วทั้งภูมิภาค ASEAN จนท�ำให้รูปแบบปฏิสัมพันธ์ที่ประชาชนมีกับภาครัฐทั้งใน ระดับประเทศและระดับท้องถิ่นเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอีกด้วย ภายในปี พ. ศ. 2568 ประชากร ASEAN โดยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่ม ดิจิทัลโดยก�ำเนิด( Digital Natives) พร้อมไปด้วยการใช้เครื่องมือ ที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่ท�ำให้ชีวิตความเป็นอยู่ทั้งด้านชีวิตส่วน บุคคลและหน้าที่การงานดีมากยิ่งขึ้น
อุปสรรคส�ำคัญทั่วไปหลายประการที่กีดขวางระหว่างประเทศต่างๆ ในอาเซียน( รวมทั้งประเทศไทย) และเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลที่ ทันสมัย ซึ่งอุปสรรคต่างๆดังต่อไปนี้จ�ำเป็นต้องได้รับการแก้ไขเพื่อ น�ำไปสู่การปฏิวัติดิจิทัลเต็มรูปแบบ:
• กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการเกิดนวัตกรรมบริการ ทางการเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่และ e-commerce
• ความตระหนักและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในระดับที่
ต�่ำซึ่งเป็นอุปสรรคต่อความเข้าใจในบริการดิจิทัล
• การขาดตลาดร่วมดิจิทัล( single digital market)
• อุปทานของ local content มีจ�ำกัด โดยมีสาเหตุหลัก มาจากการมีระบบนิเวศดิจิทัลในประเทศที่ไม่แข็งแกร่ง
โดยสรุป Thailand 4.0 จะต้องไม่เป็นเพียงแค่การประดิษฐ์ Keyword ที่สวยหรู แต่ประเทศไทยจ�ำเป็นต้องยกเครื่องกฎหมายและกฎ ระเบียบทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับมือกับธุรกิจและอุตสาหกรรม ดิจิทัล โดยประเทศไทยต้องเสริมสร้างแผนการลงทุนในโครงสร้าง พื้นฐานดิจิทัลให้มีความแข็งแกร่ง ทบทวนกฎหมายและกฎข้อบังคับ ส�ำหรับภาคส่วนที่ส�ำคัญ( เช่น การให้บริการทางด้านการเงิน) และ กระตุ้นระบบนิเวศดิจิทัลในประเทศให้มีความแข็งแกร่งขึ้น และ ด�ำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนในการขยายการเข้าถึงโครงข่าย อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างรวดเร็วให้ทันต่อความต้องการและ การเปลี่ยนแปลงของทุกอุตสาหกรรม และหากประเทศไทยมีความ แข็งแกร่งด้านการให้บริการดิจิทัลแล้ว ก็จะท�ำให้ประเทศสามารถ เชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจ ASEAN พร้อมกับการเป็นผู้น�ำการให้ บริการดิจิทัลในภูมิภาคนี้และของโลกอย่างยั่งยืน