Telecom & Innovation Journal 1041 | Page 5

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน- วันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2559 TELECOM & INNOVATION JOURNAL ภาระกิจเพื่อชาติ
วันศุกร์ที่ 16 กันยายน- วันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2559 TELECOM & INNOVATION JOURNAL ภาระกิจเพื่อชาติ
5

Thailand 4.0 ยุทธศาสตร์

ดิจิทัลขับเคลื่อนไทย

โดย พ. อ. รศ. ดร. เศรษฐพงค์มะลิสุวรรณ ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม และรองประธาน กสทช.

มีการคาดการณ์จากสถาบันวิจัยต่างๆ ว่าในทศวรรษหน้าจะเกิดยุคอุตสาหกรรม 4.0 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ขึ้นอย่างโดดเด่น โดยได้รับการสนับสนุนจากธุรกิจและผู้น�ำประเทศที่มองการณ์ไกล ผลของการปฏิวัติ ภาคการผลิตของอาเซียนจะเพิ่มความสามารถในการผลิตและความสามารถในการแข่งขันของภูมิภาคให้มีมากขึ้น ในขณะที่ลดอัตราการว่างงานลงและจะสร้างงานที่มีค่าจ้างสูงขึ้น ดังนั้น การวางยุทธศาสตร์ด้านการให้บริการทาง ดิจิทัล( Digital service) จึงมีความส�ำคัญยิ่งในเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศไทย เพื่อฉกฉวยโอกาสใหม่นี้ให้ ประเทศไทยมีความแข็งแกร่งในด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนต่อไป

การใช้ศักยภาพทางดิจิทัล( digitization) จะช่วยขับเคลื่อนห่วงโซ่ คุณค่าเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้มีต้นทุนด้านแรงงานต�่ำลงและ มีประสิทธิภาพในการผลิตที่สูงขึ้น เซนเซอร์และอุปกรณ์เทคโนโลยี สื่อสารโทรคมนาคมก�ำลังถูกน�ำมาเชื่อมเข้ากับอุปกรณ์และ เครื่องจักรผ่านการสื่อสาร Internet of Things( IoT) ในขณะที่ความ สามารถของคอมพิวเตอร์ที่ก้าวหน้าขึ้นจะช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล จ�ำนวนมหาศาล( Big Data) ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต โลจิสติกส์ และ การขาย โดยในอนาคต โรงงานต่างๆจะมีความยืดหยุ่นมากกว่าใน ปัจจุบันในเชิงของการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความเฉพาะส�ำหรับบุคคล และมีประสิทธิภาพสูงมากยิ่งขึ้น การผลิตจะท�ำได้เร็วขึ้น ประหยัด ต้นทุนและมีคุณภาพสูงขึ้น เข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมที่เราเรียกว่า“ ยุคอุตสาหกรรม 4.0”

ปัจจุบัน เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยสร้างรายได้มหาศาล และ มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยปัจจัยส�ำคัญสามประการ ที่ก�ำลังขับเคลื่อนการยกระดับจีดีพี ของประเทศ คือ 1) การเข้าถึง โครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้น( ทั้งแบบ mobile และ fixed line) 2) ความสามารถในการผลิตของบุคลากรที่เพิ่มขึ้น และ 3) อุตสาหกรรมดิจิทัลแบบใหม่ เช่น อี-คอมเมิร์ซ( e-commerce) และบริการทางการเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่

เศรษฐกิจดิจิทัลไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่ต้องถูกหล่อหลอม และขับเคลื่อนในระบบนิเวศที่เหมาะสม ทุกองค์กรที่มีความคิด ก้าวหน้าจะใช้แนวทางด�ำเนินงานที่มีโครงสร้างและสามารถปฏิบัติ ได้จริงเพื่อรองรับและสนับสนุนการเกิดนวัตกรรม ประเทศไทยจึง ต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่นวัตกรรมสามารถเจริญงอกงามได้ สิ่งนี้ จะเกิดขึ้นได้จ�ำเป็นต้องมีวัฒนธรรม ความเป็นผู้น�ำ การพัฒนา แรงงานอย่างเหมาะสม รวมทั้งแหล่งเงินทุนที่เพียงพอ โดยขณะนี้ ประเทศไทยก�ำลังพยายามพัฒนาระบบนิเวศดิจิทัล start-up( start-up ecosystems) โดยมีการน�ำเสนอโปรแกรมต่างๆที่หลากหลายเพื่อ ช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจ start-up ในประเทศสามารถเข้าถึงแหล่ง เงินทุนและผู ้เชี่ยวชาญเพื่อเปลี่ยนแนวคิดทางธุรกิจของพวกเขาให้ กลายเป็นจริง