“ ส�ำหรับบริษัทฯ ที่มีศักยภาพในการแข่งขัน และมีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง ช่วงเวลานี้เป็น โอกาสที่ดีในการลงทุนซื้อกิจการ ไม่ว่าจะเป็น วัตถุประสงค์เพื่อเป็นเจ้าของ การได้มาซึ่ง เทคโนโลยีความรู ้ ตลาดวัตถุดิบ ฐานการผลิต”“ การซื้อกิจการจะช่วยยกระดับธุรกิจได้อย่าง รวดเร็ว ทั้งขยายตลาดเพื่อเติบโตอย่างก้าว กระโดด หรือลดต้นทุน การเพิ่มขีดความ สามารถการแข่งขัน หรือกระจายความเสี่ยง จากการพึ่งพาตลาดในประเทศ โดยกลุ ่มธุรกิจ ขนาดกลาง สามารถพุ ่งเป้าการซื้อ หรือควบ รวมกิจการในกลุ ่มประเทศ CLMV กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว หรือตลาดจีน อินเดีย ที่มีศักยภาพมหาศาล”
อย่างไรก็ตาม การลงทุนซื้อหรือควบรวบ กิจการในต่างประเทศมีความท้าทาย และ ซับซ้อนมากกว่าการควบรวมกิจการในประเทศ อยู ่หลายขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การเข้าใจตลาดที่เรา ไม่คุ ้นเคยและการแข่งขัน กฎหมายต่างๆ ที่มี ความเฉพาะตัว ทั้งกฎหมายภาษี แรงงาน การ ผูกขาดไปจนถึงการพิจารณาผลกระทบจาก การลงทุนทางบัญชีและภาษีจึงท�ำให้ปัจจุบัน การควบรวมและซื้อกิจการในต่างประเทศของ กลุ่มธุรกิจขนาดกลางของไทยยังมีไม่มากนัก เพราะติดขัดในเรื่องมองหากิจการที่เหมาะสม การขาดความช�ำนาญในด้านการประเมินมูลค่า และความเสี่ยงของกิจการ การขาดความรู ้และ ประสบการณ์ในประเทศที่จะไป และข้อจ�ำกัด ในการบริหารกิจการที่ลงทุนไปภายหลังจาก การลงทุนเสร็จสิ้น
เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่กล่าวมาแล้ว ข้างต้น ทีเอ็มบี และ ไอเอ็นจี แบงก์กิ้ง เอเชีย ได้ จัดงาน“ Hunting Grounds Beyond the Comfort Zone” เพื่อให้ความรู ้ เปิดวิสัยทัศน์ ด้านการลงทุนซื้อหรือควบรวบกิจการในต่าง ประเทศ ทั้งโอกาสและอุปสรรคให้กับเจ้าของ ธุรกิจขนาดกลาง
ลงทุนตปท. ลดความผันผวน
โอกาสเติบโตในประเทศต�่ำ
ดร. ภากร ปีตธวัชชัย รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร และ หัวหน้าสายงานการเงินและบริหารเงินลงทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าว ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ Current Global and Regional Economic Trends Driving M & A Flow โดยน�ำเสนอข้อมูลจากการศึกษา ของสถาบันวิจัยตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยว่า ปกติ เมื่อตลาดหลักทรัพย์ เดินทางไปโรดโชว์ต่างประเทศ มักจะถูกถามว่า เศรษฐกิจประเทศไทยโต 3-4 % มา 10 กว่าปี เหตุใดบริษัทไทยจึงเติบโตเกิน 10 % มาอย่างต่อ เนื่อง ปัจจัยส�ำคัญมาจากรายได้จากธุรกิจนอก ประเทศมีสัดส่วนสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างมีนัยส�ำคัญ
“ จากข้อมูลจะพบว่า ถ้าคิดจาก GDP ไทย ไม่ได้โตเร็วกว่าประเทศเพื่อนบ้านเลย เฉลี่ยอยู ่ที่ 3 % แต่อัตราการเติบโตของสัดส่วนรายได้จาก ธุรกิจในต่างประเทศ ท�ำให้นักลงทุนต่างประเทศ มองแล้วเห็นว่า Make Sense”
เมื่อมองจากศักยภาพของเศรษฐกิจไทย โดยใช้อัตราส่วน Market Cap per GDP หรือ มูลค่าตลาดของบริษัทจดทะเบียนเมื่อเทียบ กับ GDP ซึ่งอยู ่ที่ 120 % คือ GDP มีมูลค่า 14 ล้านล้านบาท ตลาดหุ ้นมีมูลค่า 16 ล้านล้าน บาท ขณะที่เมื่อเทียบกับต่างประเทศ จะเห็นว่า มีโอกาสมากมายอยู ่นอกประเทศ ทั้งนี้ ประเทศ ที่มีอัตราส่วนดังกล่าวสูงกว่าประเทศไทย มีฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน มาเลเซีย ส่วน ประเทศที่เติบโตต�่ำกว่ามี อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเกาหลี
“ ข้อมูลนี้บอกว่า ศักยภาพของเราอยู ่กลางๆ บริษัทขนาดใหญ่เติบโตไปมากแล้ว แต่ก็ยังมี โอกาสส�ำหรับบริษัทขนาดกลางอีกมาก” ดร. ภากร ให้ข้อมูลว่า แนวโน้มอัตราการเติบโต ของเศรษฐกิจไทยในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา ยัง
บ่งบอกว่า การเติบโตของ GDP มีความผันผวน สูง หากแยกตามอุตสาหกรรม จะเติบโตต่อ เนื่องกับภาคการผลิต ภาคบริการ เช่น โรงแรม เท่านั้น จ�ำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการต้อง มองว่า ท�ำอย่างไรจะท�ำให้ธุรกิจของตนเติบโต อย่างต่อเนื่อง
ความส�ำคัญของ M & A ต่อ
ยุทธศาสตร์องค์กร
Michael Niederberger กรรมการ อ�ำนวยการ และ Head of Corporate Finance จาก Asia ING Bank N. V., กล่าว ว่า ส�ำหรับองค์กร M & A มีความหมายในหลาย มิติไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์ส�ำคัญสร้างโอกาสในการ เติบโต เพิ่มช่องทางรายได้ใหม่ๆ ท�ำให้บริษัท ใกล้ชิดกับลูกค้าแตกต่างหลากหลายมากขึ้น มี การใช้ประโยชน์จากการรวบพลังเพื่อสร้างความ แข็งแกร่งด้วยการท�ำ Consolidation และ Synergy สามารถใช้ทรัพยากรจากทั่วโลก รวม ถึงโอกาสที่เกิดจากการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ด้าน การลงทุนของหลายประเทศ โดยเฉพาะในแถบ อาเซียนและ CLMV
“ การศึกษาของ ING พบว่า ช่วง 5 ปี หลัง อุตสาหกรรมหรือกลุ ่มธุรกิจที่องค์กรให้ ความสนใจแตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาค ยกตัวอย่างเช่น บริษัทของสหรัฐ ยุโรป สนใจ ลงทุนในอาเซียนกับกิจการที่มีความเชี่ยวชาญ เรื่อง International Consumption กิจการ ที่เน้น Service Oriented และ Technology Oriented ส่วนบริษัทในประเทศเกิดใหม่( Emerging Country) จะสนใจกิจการประเภท Infrastructure Oriented เช่น กิจการ โทรคมนาคม เป็นต้น
ปัจจัยส�ำคัญส�ำหรับการตัดสินใจซื้อ กิจการ คือ การมองที่กลยุทธ์ของบริษัทก่อน ว่าสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ และสร้างประโยชน์ ในระยะยาวหรือไม่
B-CONNECT MAGAZINE 49