เยี่ยมยามเมืองจันทบูร เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ | Page 4
#ท่องเที่ยวเพื่อเข้าใจเมืองไทย#
“เยี่ยมยามเมืองจันทบูร”
เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
วันเสาร์ที่ ๖ วันอาทิตย์ที่ ๗ และวันจันทร์ที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๒ น
กิจกรรมใหม่ของมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธ
น�ำชมสาระทางประวัติศาสตร์ โบราณคด
โดยอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม และวลัยลักษณ์ ทรงศิร
“จันทบูร” หรือ “จันทบุรี” หัวเมืองใหญ่แต่โบราณของภูมิภาคตะวันออก คือ เมืองท่าภายในริมชายฝั่งทะเล ตาม
เส้นทางการเดินเรือทะเลเลียบชายฝั่งระหว่างภูมิภาคใหญ่ของแหล่งอารยธรรมส�ำคัญคือจีนและอินเดีย
ถือเป็นเมืองท่าส่งสินค้าของป่าชั้นดี เช่น ไม้ตะเคียน ไม้แดง ไม้ยาง ไม้หอม กฤษณา พืชสมุนไพรต่างๆ เช่น
กระวานและโดยเฉพาะพริกไทย
ชื่อเมือง “จันทบูร” นั้นน่าจะมีที่มาจากการเป็นพื้นที่ป่าเขาที่มีต้นไม้หอมอันเป็นต้นไม้เฉพาะถิ่นคือ “ต้นจันทน์”
หรือ Sandal Wood ไม้จันทน์นี้น�ำไปใช้เป็นไม้หอมส�ำหรับบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในงานพระราชพิธีหลวงหรืองานมงคลต่างๆ
และน�ำมาสกัดเป็น “น�้ำมันจันทน์” น�้ำมันหอมระเหยมูลค่าสูงและมีความต้องการทั้งทางฝั่งจีนและอินเดีย
ส่วนค�ำว่า “บูร” นั้นหมายถึงความเป็นเมือง หรือ “ปุระ” ซึ่งอาจจะมีก�ำแพงค่ายคูประตูหอรบด้วยก็ได
“เมืองจันทบูร” อยู่ริมล�ำน�้ำจันทบูร เมืองท่าที่อยู่ภายในแผ่นดิน ใกล้เชิงเขาสระบาปที่มีร่องรอยของบ้านเมืองท
รับอิทธิพลวัฒนธรรมแบบเขมรตั้งแต่ยุคเริ่มแรก แต่ก็ยังไม่อาจเรียกว่าเป็นเมืองใหญ่ได
จนกระทั่งถึงยุคสมัยอยุธยาที่การค้าทางทะเลรุ่งเรือง ชุมชนจ�ำนวนมากจึงปรากฏอยู่ตามริมล�ำน�้ำหลายสาย
จันทบูรจึงกลายเป็นหัวเมืองใหญ่ชายฝั่งตะวันออกที่ส่งออกสินค้าส�ำคัญของบ้านเมืองมาตั้งแต่บัดนั้น
และที่ส�ำคัญเมื่อ “สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ” ฝ่าวงล้อมทัพพม่าในคราวสิ้นกรุงศรีอยุธยา พระองค์เลือกหัวเมือง
ทางตะวันออก เช่น ระยอง จันทบูร และตราดที่มีฐานก�ำลังของผู้คนจ�ำนวนมากที่ไม่ถูกผลกระทบจากการล้อมกรุงฯ เป็น
ที่มั่นเพื่อกลับสู่การกู้บ้านเมืองที่ล่มสลายไปแล้ว
ผู้คนแถบนี้ล้วนมีที่มาหลากหลาย ทั้งคนชองผู้เก็บผลผลิตจากป่าเขาสู่เมือง คนสยาม คนมลายู คนจามมุสลิม
และโดยเฉพาะคนเชื้อสายจีนทั้งพุทธและคริสต์ ซึ่งมีที่มาจากในพื้นที่เวียดนามและเมืองจีน
มรดกตกทอดทางวัฒนธรรมแห่งจันทบูรจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจศึกษายิ่งนัก ไม่ว่าจะเป็นภูมิวัฒนธรรมของการตั้งถิ่นฐาน
ความหลากหลายทางชีวภาพและความร�่ำรวยของอาหารการกินทั้งพืชผักสมุนไพร สวนผลไม้ และอาหารทะเล ประเด็น
ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอันเกี่ยวพันกับการกู้บ้านเมืองของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ กษัตริย์เชื้อสายจีนสยามแห่งกรุงธนบุร
ท�ำให้ “จันทบูร” เป็นบ้านเมืองแรกที่ “มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์” เลือกสรรมาแนะน�ำเพืื่อการท่องเที่ยว
เรียนรู้รากฐานของความเป็นเมืองท่าแห่งภูมิภาคตะวันออกที่มีพลวัตต่อสยามประเทศ
4
คู่มือ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร”
เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ