สารัตถะวิจัย ปี3 E-Book สารัตถะ ปี3 | Page 87

86 สารัตถะวิจัยเชิงพื้นที่ : นวัตกรรมเพื่อสังคมและชุมชน
3 ) การจัดการข้อมูลอัตลักษณ์มอญ ควรมีการจัดการอย่างไรจึงจะน�ำไปสู่
การพัฒนาการท่องเที่ยวเกษตรเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมาได้ หลังด�ำเนินการวิจัย ผลจาการศึกษาได้ข้อสรุปดังนี้ จากการศึกษาบริบทพื้นที่เพื่อหาทุนทางวัฒนธรรม ทุนวัฒนธรรมของชุมชนมอญ คือ ขุดความรู้และประสบการณ์ที่ขุมขนสร้างสรรค์ขึ้นและสั่งสมมาเพื่อการอยู่ร่วมกันใน สังคม ถือเป็นองค์ความรู้ หรือผลงานที่เกิดจากบุคคลหรือกลุ่มชนที่ได้มีการสร้างสรรค์ พัฒนา สั่งสม สืบทอด และประยุกต์ใช้ในวิถีการด�ำเนินชีวิตมาอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้อง เหมาะสมกับสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม อันแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์มอญในลุ่มน�้ำ ล�ำพระเพลิง
จากนั้นจึงจัดเวทีเพื่อระดมความคิด และสร้างความตระหนักและความส�ำคัญ เกี่ยวกับทุนวัฒนธรรม เพื่อสะท้อนอัตลักษณ์มอญของคนในชุมชน โดยมีกระบวนการ สื่อสารเพื่อสร้างอัตลักษณ์ ทุนทางวัฒนธรรมที่คนในชุมชนมอญ คือ
- สัญลักษณ์ความเป็นมอญ คือ เสาหงส์ วัด และหลวงปู่ฉิม ( พระครู
ทักษิณรามัญ ) - ภาษามอญ - ประเพณีพิธีกรรมทางพุทธศาสนา ประเพณีตามเทศกาล อาทิ พิธี
ลอยแพ ( การลอยกระทง ) - การละเล่นพื้นบ้าน คือ การร�ำโทน และการเล่นสะบ้า - วิถีความเป็นอยู่ คือ ส�ำรับมอญและขนมมอญ ขนมมอญ ได้แก่ ขนม
กระแถแร ขนมกล้า ( ต้นกล้า ) และข้าวหลาม กระบวนการสื่อสารที่ท�ำให้สามารถยกทุนวัฒนธรรมขึ้นเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน
มอญ ประกอบด้วย
สื่อบุคคล สื่อกิจกรรม สื่อวัตถุ และเครือข่าย ดังนี้ - สื่อบุคคล ได้แก่ คนในชุมชน ผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้าน พระ - สื่อกิจกรรม ได้แก่ ประเพณีพิธีกรรมตามเทศกาล การละเล่น - สื่อวัตถุ ได้แก่ หงส์ วัด บ้านมอญ อาหาร และการแต่งกาย - เครือข่าย ได้แก่ คนในชุมชน ภาครัฐ
และน�ำสู่การจัดกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ข้อมูลอัตลักษณ์ชุมชน โดยเกิดจากความ ร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนทั้งหมดที่ได้ชื่อว่าเป็นคนมอญหรือคนไทยเชื้อสายมอญ กิจกรรมดังกล่าวอยู่ภายใต้ชื่อว่า “ เยือนถิ่นมอญตะลอนล�ำพระเพลิง ”
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา