องค์การการท่องเที่ยวโลก ( UNWTO ) คาดการณ์ท่องเที ่ยวโลกปี 2559 ยังคง เติบโตต่อเนื่อง
ขยายตัวร้อยละ 3.5-4.5 ในขณะที่สภาการท่องเที่ยวและ การเดินทางโลก ( WTTC ) ปรับลดคาดการณ์อัตราการเติบโต ของ GDP ท่องเที่ยวลงเหลือร้อยละ 3.3 ผลจากการปรับลด การคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลก โดยทวีปต่างๆ ทั่วโลกต่างมีการเติบโตของจํานวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ เพิ่มขึ้น โดยจํานวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศยังคงเป็น นักท่องเที่ยวจากประเทศที่พัฒนาแล้ว ในสัดส่วนที่สูงกว่า นักท่องเที่ยวจากประเทศที่กําลังพัฒนา แต่สัดส่วนดังกล่าว มีแนวโน้มใกล้เคียงกันมากขึ้น
จากการประชุม ITB Berlin 2016 มีประเด็นที่ต้องติดตามด้าน
การท่องเที่ยวคือ การนําเอาหุ ่นยนต์เข้ามาใช้ในการให้บริการโรงแรม และการเดินทางออกนอกประเทศเพิ่มขึ้นของชาวจีนที่มีอัตราลดลง ในขณะที่ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่คนจีนนิยมมากที่สุด และการเดินทางออกนอกประเทศของคนในเมืองรองของจีนมีอัตราการเพิ่มสูง
สถานการณ์การท่องเที่ยวของไทยในไตรมาส 1 ปี 2559 จํานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ยังคงขยายตัวต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 15.45 ซึ่งชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน ของปีที่แล้ว แต่สูงกว่าไตรมาสสุดท้ายของปี 2558
จากจํานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 9 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกจํานวน 5.8 ล้านคน ขยายตัว สูงสุดร้อยละ 19.6 รองลงมาได้แก่ นักท่องเที่ยวในภูมิภาคยุโรป จํานวน 2.1 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 8.6 จากนักท่องเที่ยวตลาดหลัก อย่างเช่น สหราชอาณาจักร สวีเดน ฝรั่งเศส และเยอรมัน รวมทั้งนักท่องเที่ยวรัสเซียที่เริ่มมีการฟื ้นตัวหลังจากที่มีแนวโน้มติดลบต่อเนื่อง ในปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ไตรมาส 1 ปี 2559 มีรายได้จากการท่องเที่ยวมูลค่า 463.7 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 20.1 ตามการขยายตัว ของจํานวนนักท่องเที่ยวและค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวในทุกภูมิภาคที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่จํานวนวันพักเฉลี่ยใกล้เคียงกับช่วงเวลา เดียวกันของปีที่แล้ว โดยนักท่องเที่ยวยุโรปยังคงใช้เวลาพํานักในประเทศไทยนานที่สุด
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ( Wellness Tourism )
จากรายงานของ Global Wellness Institute เศรษฐกิจเชิงสุขภาพของโลก ( Global Wellness Economy ) มีมูลค่าตลาดประมาณ 3.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเป็นส่วนของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ( Wellness Tourism ) ถึง 494.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ( Medical Tourism ) มีขนาด 50-60 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ อัตรา 7.3 : 1 ในส่วนของประเทศไทย พบว่าการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์มีขนาดประมาณ 100,000 ล้านบาท ในขณะที่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมีมูลค่า 25,090 ล้านบาท หรืออัตรา 1 : 4 ซึ่งสวนทางกับขนาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของโลก ดังนั ้นในรายงานฉบับนี้จึงนําเสนอสถานการณ์ และแนวทาง การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทยให้สอดคล้องกับแนวโน้มของตลาดโลก
Tourism Sharing Economy ( เศรษฐกิจแบ่งปันกับการท่องเที่ยว )
เป็นรูปแบบบริการท่องเที่ยวแบบใหม่ที่มาพร้อมกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว แม้ปัจจุบันเศรษฐกิจแบ่งปันยังเป็นสัดส่วนน้อยในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีผลกระทบทั้งด้านบวก และด้านลบต่อระบบเศรษฐกิจและการดูแลความปลอดภัยในระบบการท่องเที่ยว ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาและแนวทางรองรับ รวมทั้งกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ยังไม่สามารถนํามาบังคับใช้กับระบบเศรษฐกิจแบ่งปันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นในรายงานฉบับนี้ จึงนําเสนอเรื่องราวความเป็นมา การเติบโตของระบบเศรษฐกิจแบ่งปันในระดับนานาชาติ นโยบายของประเทศต่างๆ ต่อระบบเศรษฐกิจ แบ่งปัน เพื่อนํามาสู่การจัดทําข้อเสนอแนะสําหรับการดําเนินการอย่างเหมาะสมเกี่ยวกับเศรษฐกิจแบ่งปันทางการท่องเที่ยวของไทย
02 รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว