การท่องเที่ยวทางน�้ำกับการพัฒนาการท่องเที่ยวไทย
Inland-Waterway Tourism
การท่องเที่ยวตามแม่น้ำลำคลอง
การท่องเที่ยวตามแม่น�้ำล�ำคลอง เป็นการท่องเที่ยวทางน�้ำที่เกี่ยว เนื่องกับวิถีชีวิตของคนไทย โดยในอดีตกรุงเทพมหานครเคยได้ ชื่อว่า เวนิสตะวันออก การท่องเที่ยวตามแม่น�้ำล�ำคลองเพื่อชมวิถี ชีวิตและวัฒนธรรมดั้งเดิมสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างชาติ ที่มีความสนใจในการศึกษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย ต้องการเห็นวิถีชีวิตชุมชนที่อยู่สองฝั่ง หรือการเยี่ยมชมตลาดน�้ำ ที่เป็นที่นิยม นอกจากนี้ การท่องเที่ยวนี้รวมไปถึงกิจกรรมเกี่ยวกับ การผจญภัยอย่างเช่น การล่องแก่ง หรือการพักแรมบนแพ ร่วมด้วยในบางเส้นทาง
การท่องเที่ยวตามแม่น�้ำล�ำคลองในปัจจุบันมีทั้งการท่องเที่ยวแบบ เข้าไปเย็นกลับที่เรียกว่า ทัศนาจร หรือมีการพักแรมที่อาจพักบน เรือ / แพ หรือแวะขึ้นบกระหว่างทาง ประเภทของเรือที่ให้บริการมี หลายรูปแบบ เช่น เรือหางยาว เรือเร็ว( ด่วน) เรือส�ำราญ เรือลาก แพลาก เป็นต้น ขึ้นอยู่กับลักษณะของล�ำน�้ำ ระยะทางของแหล่ง ท่องเที่ยว และความต้องการของนักท่องเที่ยวเป็นหลัก
จากข้อมูลของสมาคมเรือไทย เฉพาะการท่องเที่ยวตามแม่น�้ำ ล�ำคลองในบริเวณแม่น�้ำเจ้าพระยา สามารถแบ่งรูปแบบการ ท่องเที่ยวออกตามประเภทของเรือได้ 5 กลุ่ม ดังนี้
• กลุ ่มเรือภัตตาคาร เป็นเรือส�ำหรับให้บริการล่องเรือพร้อมบริการ อาหาร ส่วนใหญ่จะเป็นของร้านอาหารริมน�้ำและโรงแรมต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่าทางธุรกิจสูงที่สุดในบรรดารูปแบบการ ท่องเที่ยวทางเรือล่องเจ้าพระยาทั้งหมดคือ ประมาณ 2,275 ล้านบาทต่อปี
• กลุ่มเรือทัวร์( ให้บริการเหมาล�ำ) ที่มีทั้งเรือส�ำราญ( Cruise) เรือชมวิว( Sightseeing) และอาจรวมถึงเรือด่วนเจ้าพระยา ซึ่งมีมูลค่าทางธุรกิจประมาณ 350 ล้านบาทต่อปี
• กลุ่มเรือหางยาว( ให้บริการเหมาล�ำ) ที่น�ำนักท่องเที่ยวลัดเลาะ ไปตามล�ำคลองต่างๆ มีมูลค่าทางธุรกิจประมาณ 320 ล้านบาท ต่อปี
• กลุ ่มเรือโดยสารหางยาว ที่ประกอบด้วย เรือด่วนเจ้าพระยา และ เรือด่วนครอบครัวขนส่ง ซึ่งมีมูลค่าทางธุรกิจสูงเป็นอันดับสอง รองจากกลุ่มเรือภัตตาคารคือประมาณ 480 ล้านบาทต่อปี
• กลุ่มเรือข้ามฟาก ที่ให้บริการกับผู้โดยสารทั่วไป มีมูลค่าทาง ธุรกิจประมาณ 60 ล้านบาทต่อปี
ประเทศไทยมีลุ่มน�้ำส�ำคัญทั่วประเทศจ�ำนวน 25 ลุ่มน�้ำ และลุ่มน�้ำ ย่อย 254 ลุ่มน�้ำย่อย คิดเป็นพื้นที่ลุ่มน�้ำรวมทั้งประเทศประมาณ 511,361 ตารางกิโลเมตร รวมทั้งคูคลองอีกเป็นจ�ำนวนมาก เฉพาะ กรุงเทพมหานครแห่งเดียวมีจ�ำนวน 1,161 คลอง และคูล�ำกระโดง จ�ำนวน 521 คู รวมเป็น 1,682 คูคลอง ความยาว 2,604 กิโลเมตร
จากข้อมูลแนะน�ำแหล่งท่องเที่ยวทางล�ำน�้ำที่นับเป็นแหล่งท่องเที่ยว ทางธรรมชาติของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย( ททท.) พบว่ามีจ�ำนวนเกือบ 40 แห่งทั่วประเทศ( ยังไม่รวมในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียง) โดยมีรูปแบบการท่องเที่ยวหลัก ดังนี้
• บริการเรือส�ำหรับนักท่องเที่ยวล่องไปตาม ล�ำคลอง อาทิ คลอง โคกขาม จังหวัดสมุทรสาคร ที่มีเรื่องราวกล่าวขานมายาวนาน คลองสังเน่ห์ แยกจากแม่น�้ำตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ที่มีพืชพรรณ ธรรมชาตินานาชนิด คลองขนมหวาน จังหวัดนนทบุรี ที่เป็น แหล่งผลิตขนมไทยนานาชนิด คลองร้อยสาย จังหวัด สุราษฎร์ธานี ที่ยังมีวิถีชีวิตในการเดินทางและท�ำกิจกรรม ทางน�้ำให้เห็นอยู่จนถึงปัจจุบัน
• บริการเรือส�ำหรับนักท่องเที่ยวล่องไปตามบึงและทะเลสาบ ได้แก่ ทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง ล่องแพเหนือเขื่อนภูมิพล จังหวัด ตาก รวมทั้งอ่างเก็บน�้ำเขื่อนรัชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่ง มีทิวทัศน์สวยงามจนได้ชื่อว่ากุ้ยหลินเมืองไทย
• การล่องเรือตามแม่น�้ำสายต่างๆ เป็นการล่องเรือไปตามแม่น�้ำ ส�ำคัญ อาทิ แม่น�้ำโขง แม่น�้ำมูล แม่น�้ำนครชัยศรี แม่น�้ำปาย แม่น�้ำกก แม่น�้ำเพชรบุรี แม่น�้ำสาละวิน และแม่น�้ำเมย โดยมี กิจกรรมการท่องเที่ยวอื่นที่เสริมการล่องเรือตามล�ำน�้ำ เช่น การล่องเรือในแม่น�้ำปาย นอกจากมีกิจกรรมการล่องแก่งแล้วใน เส้นทางยังมีกิจกรรมขี่ช้าง แช่ตัวในบ่อโคลน พุน�้ำร้อน การชมถ�้ำ โดดหน้าผา เที่ยวชมหมู่บ้านกระเหรี่ยงคอยาวบริเวณเขต ชายแดนไทย-เมียนมา การท่องเที่ยวตามล�ำน�้ำแม่กก จังหวัด เชียงราย ที่ไปบรรจบแม่น�้ำโขง พร้อมกิจกรรมล่องเรือ ล่องแก่ง พายเรือคายัค อาบน�้ำแร่ และชมวัฒนธรรมเผ่าต่างๆ แม่น�้ำ สองสี อ�ำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นจุดเชื่อมระหว่าง แม่น�้ำสองสายคือ แม่น�้ำโขง และแม่น�้ำมูลที่มีสีต่างกัน
58 รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว