ASEAN
CONNECT
บทบรรณาธิการ
31 ธันวาคม 2558 เป็นวันที่ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ซึ่งประกอบไปด้วย ประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยม เวียดนาม สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน ฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย ได้เข้าสู ่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ ASEAN Economic Community
( AEC ) อย่างสมบูรณ์แบบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ภายใต้ค�ำขวัญของอาเซียน คือ “ One Vision , One Identity , One Community ” นั่นหมายถึงอาเซียนต้องการ รวมกันเป็นหนึ่งเดียว ส�ำหรับประเทศไทยก็ได้ ก�ำหนดบทบาทของประเทศในอาเซียนไว้ รองรับกับหลักการอาเซียนดังกล่าวในฐานะ “ ประตูสู่อาเซียน ” ด้วยปัจจัยทางด้าน ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และความพร้อมของ โครงสร้างพื้นฐาน
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นสาขา ที่อาเซียนให้ความสนใจในล�ำดับต้นๆ
และตั้งเป้าที่จะ ให้เป็นจุดหมายปลายทางเดียวกัน ( Single Tourist Destination ) คือ นักท่องเที่ยวไม่เพียงแค่เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศใด ประเทศหนึ่งเท่านั้น แต่ยังท่องเที่ยวเชื่อมโยงไปสู่ประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน และเพื่อ ให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว อาเซียนได้จัดท�ำแผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ปี 2554-2558 และปี 2559-2568 เป็นกรอบการท�ำงานของประเทศสมาชิกที่เน้น การบูรณาการและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม การรักษาคุณค่ามรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม การท�ำตลาดร่วมกัน ส�ำหรับสินค้าทางด้านการท่องเที่ยวใหม่ๆ เช่น การท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม การท่องเที่ยวโดยชุมชน การท่องเที่ยวทางเรือส�ำราญ ( Cruise ) เป็นต้น
รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยวฉบับที่ 2 จึงขอน�ำเสนอข้อมูล ความเคลื่อนไหว และ บทวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับ ASEAN ด้านการท่องเที่ยว โดยให้ความส�ำคัญกับหลักการ แนวคิดการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ( ASEAN Connect ) ที่อาเซียน ร่วมกันก�ำหนดขึ้นและมีความก้าวหน้าของการท�ำงานในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะทางด้าน ระบบคมนาคมขนส่งเชื่อมต่อระหว่างกันอันเป็นปัจจัยหลักของการท่องเที่ยวในภูมิภาค ซึ่งรวมถึงทางทะเลที่เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวเป้าหมายของอาเซียนและเป็นส่วนหนึ่ง ในยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาสินค้าและบริการท่องเที่ยวในด้านการพัฒนาเชิงพื้นที่และ รายสาขา ภายใต้ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ . ศ . 2558-2560 อย่างเช่นการท่องเที่ยว ทางเรือส�ำราญขนาดใหญ่ ( Cruise ) และการท่องเที่ยวทางเรือยอร์ช ( Yacht ) เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีการน�ำเสนอข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงความส�ำคัญของการท่องเที่ยวต่อ เศรษฐกิจของประเทศไทยในรูปแบบบัญชีประชาชาติด้านการท่องเที่ยว ( Tourism Satellite Account : TSA ) ประกอบด้วยรายการต่างๆ อาทิ ผลิตภัณฑ์มวลรวมทางตรงด้านการ ท่องเที่ยว ( TDGDP ) การจ้างงาน เป็นต้น
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว ฉบับนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้สนใจทุกท่าน หากมีข้อติชมประการใด ทีมบรรณาธิการยินดี และพร้อมที่จะรับฟังเพื่อน�ำไปปรับปรุงแก้ไขให้เกิดความสมบูรณ์มากขึ้นส�ำหรับน�ำไปใช้ ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางต่อไป
ส�ำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา