รายงาน GG 62 Full Report สำหรับผลิต (1) | Page 6

(๓) ลงพื้นที่ตรวจประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านเข้ารอบ และประชุมลงมติเพื่อตัดสินองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นที่สมควรได้รับรางวัลต่อไป ผลการดำเนินการในภาพรวมมีดังน ๑. กระบวนการตรวจประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรับรางวัลการบริหารจัดการที่ดีประจำป งบประมาณ ๒๕๖๒ ใช้ระยะเวลาประมาณ ๔ เดือน (มีนาคม - มิถุนายน ๒๕๖๒) โดยมีองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นส่งใบสมัครและเอกสารหลักฐานเข้ารับการคัดเลือกในรอบที่ ๑ จำนวน ๔๐๑ แห่งในจำนวนน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๒๓ แห่งที่มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการ การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงทำให้เหลือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๓๗๘ แห่งที่มี คุณสมบัติครบถ้วนแบ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรางวัลประเภทดีเลิศ ๑๓ แห่ง รางวัลประเภท โดดเด่น ๙๐ แห่ง และรางวัลประเภททั่วไป ๒๗๕ แห่ง และหากจำแนกตามรายภาคพบว่า ภาคเหนือมีองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นส่งใบสมัครมากที่สุด ๑๑๗ แห่ง รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๐๓ แห่ง ภาคกลางและภาคตะวันออก ๘๒ แห่ง และภาคใต้ ๗๖ แห่ง ๒. การตรวจประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรอบที่ ๑ เป็นการตรวจประเมินคุณสมบัติองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นจากใบสมัครและเอกสารหลักฐานประกอบตามเกณฑ์ชี้วัดของคณะอนุกรรมการกำหนด หลักเกณฑ์การจัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อเป็นรางวัลให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หลังจากการตรวจประเมิน ใบสมัครและหลักฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๓๗๘ แห่ง มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๒๕๐ แห่งท ผ่านการตรวจประเมินรอบที่ ๒ (รอบการลงพื้นที่ตรวจประเมิน ) แบ่งเป็นประเภทรางวัลดีเลิศ ๑๓ แห่ง ประเภทโดดเด่น ๕๘ แห่ง และประเภททั่วไป ๑๗๙ แห่ง หากแบ่งตามประเภทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ (องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร และเทศบาลเมือง) ที่ผ่านเข้ารอบ ๕๐ แห่ง เทศบาลตำบล ๑๑๑ แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล ๘๙ แห่ง ๓. หลังจากได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านการตรวจประเมินรอบที่ ๑ จำนวน ๒๕๐ แห่งแล้ว คณะที่ปรึกษาและนักวิจัยภาคสนามได้ดำเนินการลงพื้นที่ตรวจประเมินในระหว่างเดือนเมษายน - พฤษภาคม ๒๕๖๒ แล้วจึงประมวลผลข้อมูลเพื่อคัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าสู่รอบสุดท้าย โดยใช้เกณฑ์ชี้วัด และขั้นตอนตามที่คณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อเป็นรางวัลให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด ผลการพิจารณามีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผ่านเข้ารอบสุดท้าย ๑๑๑ แห่ง แบ่งเป็นประเภทดีเลิศผ่านเข้ารอบสุดท้าย จำนวน ๘ แห่ง ประเภทโดดเด่น ๔๑ แห่ง และประเภททั่วไป ๖๒ แห่ง ซึ่งหากจำแนกตามประเภทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ (องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร และเทศบาลเมือง) ๓๔ แห่ง เทศบาลตำบล ๔๐ แห่ง และองค์การ บริหารส่วนตำบล ๓๗ แห่ง ๔. รายชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับผลคะแนนการประเมินในรอบที่ ๑ และรอบที่ ๒ ๑๐ อันดับแรกของแต่ละประเภทรางวัลมีดังต่อไปน ๔.๑ รางวัลประเภทดีเลิศ ๑) เทศบาลเมืองทุ่งสง อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ๒) เทศบาลนครยะลา อ.เมือง จ.ยะลา