รายงาน GG 62 Full Report สำหรับผลิต (1) | Page 26

บทที่ ๑ บทนำ ๑.๑ หลักการและเหตุผล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมในระดับฐานราก ของประเทศ โดยมีบทบาทสำคัญในการจัดบริการสาธารณะซึ่งเป็นภารกิจที่ต้องดำเนินการอย่างใกล้ชิดกับ ประชาชนและทุกภาคส่วนในชุมชน รวมทั้งต้องเป็นบริการสาธารณะที่ได้รับการออกแบบอย่างสอดคล้องกับ บริบทของพื้นที่ นับตั้งแต่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ทำให้ประเทศไทยก็มีโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นเต็มรูปแบบตั้งแต่ระดับตำบลจนถึงระดับจังหวัด และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีบทบาทสำคัญในการจัดบริการสาธารณะ หลายด้านที่กระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยตรง ได้แก่ การศึกษา สาธารณสุข โครงสร้างพื้นฐาน การบริการด้านสังคม การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน การจัดการสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการ ภัยพิบัติและการดูแลความสงบปลอดภัยภายในชุมชน นอกจากนี้ เมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ รัฐบาลโดยคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่ ว นท้ อ งถิ ่ น (ก.ก.ถ.) ได้ ม ี น โยบายและมาตรการส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น และพั ฒ นาศั ก ยภาพตลอดจนขี ด ความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการรับผิดชอบภารกิจจัดให้มีกิจกรรมและบริการสาธารณะท ได้รับการถ่ายโอนจากส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น โดยยึดตามหลักธรรมาภิบาล ความโปร่งใสและการตรวจสอบได้ การมีส่วนร่วมของประชาชน และการเสริ มสร้ างความเข้ มแข็ งให้ แก่ เ ครื อข่ ายความร่ วมมื อในพื ้ นที ่ ความคุ ้ มค่ าเชิ งบประมาณ และ หลักประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความคุ้มค่าของโครงการและแผนงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ของประชาชน หนึ่งในมาตรการส่งเสริมและยกระดับขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของสำนักงาน คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ การจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปเป็น เงินรางวัลให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดีตามกระบวนการและเกณฑ์มาตรฐานของ คณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อให้เป็นรางวัลสำหรับองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นซึ่งมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องมานับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรการนี้ถือเป็น แนวทางการสร้าง แรงจูงใจเชิงบวก (Positive Incentive) ให้คณะผู้บริหารและข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพัฒนา กระบวนการทำงานให้มีความโปร่งใสถูกต้องตามหลักธรรมาภิบาลและตั้งอยู่บนหลักการมีส่วนร่วมของ ประชาชนและทุกภาคส่วนในพื้นที่ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อนึ่ง คณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อให้เป็นรางวัลสำหรับองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีมติให้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อปรับปรุงกระบวนการคัดเลือก เกณฑ์คะแนนการตัดสิน