มนุษย์อยุธยา | Page 30

น้อยก็ต้องจับดาบใช้เป็น เนื่องจาก “ ชายฉกรรจ์ ” ถูกเกณฑ์ไปใช้แรงงานอยู่ที่ตัวเมือง ผู้หญิงจึงต้องเป็นประเภท “ มือก็ไกว ดาบก็แกว่ง ” คือ อยู่บ้านกับเด็กและคนชราคอย ดูแลเรือกสวนไร่นา และป้องกันโจรผู้ร้ายไปในขณะเดียวกัน ดังนั้น ผู้หญิง เด็ก และ คนชราจึงถือเป็น “ แรงงานหลัก ” ในภาคการเกษตรของลุ ่มแม่น�้ำเจ้าพระยาสมัยอยุธยา ๓๕
แต่สภาพดังกล่าวข้างต้น คงต่างออกไปส�ำหรับผู้หญิงที่อยู่ห่างไกลจากศูนย์ กลางอ�ำนาจระบบไพร่ โบราณจึงมีภาษิตว่า “ ช้างงามอยู่ในป่า ” ( ผู้หญิงเปรียบกับช้าง ? ช้างคือความงาม ?) ก็เพราะเมื่อผู ้หญิงที่อยู ่ห่างไกลจากศูนย์กลางอ�ำนาจจะไม่ถูกควบคุม ให้ต้องอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน เหมือนอย่างผู้หญิงที่อยู่ในย่านเมืองหรือชานพระนคร และพวกนางยังอาจไม่ถูกจับแต่งงานเสียตั้งแต่อายุยังน้อยเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกน�ำตัวเข้า วังอีกด้วย ยกเว้นแต่กษัตริย์จะเสด็จไปทอดพระเนตรเห็นด้วยพระองค์เอง เช่น เรื่องของ หญิงมอญบ้านอยู่ริมท่าน�้ำ ที่วันหนึ่งพระเจ้าสายน�้ำผึ้งเสด็จไปพบนางขณะก�ำลังอาบน�้ำ จนเป็นที่ต้องพระทัย เมื่อพระองค์เสด็จกลับถึงวัง จึงให้ขุนวังกับพวกน�ำคานหามไปรับ หญิงมอญผู้นั้นเข้าวัง และต่อมาจึงเรียกย่านบ้านที่ส่งคานไปรับนางว่า “ บ้านคานหาม ” ( อยู่ที่ย่านอ�ำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ) หรืออย่างเรื่องของนางอิน ผู้เป็นที่มา ของชื่อย่าน “ บางนางอิน ” ภายหลังเพี้ยนเป็น “ บางปะอิน ” มีเรื่องเล่าว่าสมเด็จพระ เอกาทศรถเสด็จมาพบนางอิน และต้องพระทัย จึงให้นางถวายการรับใช้ใกล้ชิดเป็น บาทบริจาริกา ต่อมาภายหลังได้มีการน�ำเอาเรื่องนางอินไปผูกกับเรื่องของสมเด็จพระ เจ้าปราสาททอง กษัตริย์ผู้มีเคหสถานบ้านเดิมอยู่ที่ย่านบางปะอิน ว่าทรงเป็นโอรสลับ ของสมเด็จพระเอกาทศรถกับนางอิน แต่เรื่องนี้ยังเป็นเพียงต�ำนานเรื่องเล่าที่ผูกโยง เพื่อถวายพระเกียรติให้สมเด็จพระเจ้าปราสาททองมิใช่สามัญชน
( ขวา ) หญิงชาวอยุธยาในทัศนะของชาวฝรั่งเศส
58