มนุษย์อยุธยา | Page 29

อย่างไรก็ตาม ร่างกายอันเป็นต้นแบบของความงามนั้นคือ “ ช้าง ” เพราะช้าง นั้นเท่ากับความงาม ซึ่งสืบเนื่องมาจากความเชื่อเรื่องบุญญาธิการ เพราะช้างถือเป็น
สัตว์สูงส่งตามคติความเชื่อในพุทธศาสนาเถรวาทลังกาวงศ์๓๔ ดังนั้น คติต่อความงาม ทางกายของผู้หญิงในอดีตสมัยอยุธยา จึงแตกต่างอย่างตรงกันข้ามกับร่างกายของ ผู้หญิงในยุคสมัยใหม่ และเรามักพบว่าบันทึกของชาวต่างชาติไม่ค่อยชมว่าผู้หญิงชาว อยุธยามีเรือนร่างที่งดงามเท่าไรนัก

เป็นเมียไพร่ ต้องทรหดอดทน

หญิงชาวอยุธยาขณะก�ำลังกระเตงลูกน้อย บนภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดประดู่ทรงธรรม ภาพจาก น . ณ ปากน�้ำ , วัดประดู่ทรงธรรม ( กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ , ๒๕๒๘ ), น . ๕๗ .
ในสังคมอยุธยา ผู ้หญิงมีบทบาท ดูแลบ้านช่องและพื้นที่การเพาะปลูกใน ชุมชน เมื่อยามที่ผู้ชายถูกเกณฑ์ไปรับใช้ รัฐและบรรดาเจ้าขุนมูลนาย เมื่อต้องอยู่ เหย้าเฝ้าเรือน ก็ต้องเป็นผู้หญิงที่มีความ แข็งแกร่ง ไม่ใช่ผู้หญิงที่เอวบางร่างน้อย อ้อนแอ้นอรชร พวกนางจึงนิยมไว้ผมสั้น มากกว่าผมยาว
“ บ้าน ” เป็นพื้นที่ของผู้หญิง ขณะที่ “ เมือง ” ถือเป็นพื้นที่ของผู้ชาย แต่พื้นที่บ้านมีความสลับซับซ้อนที่แฝง เร้นอยู่ภายใต้ความเรียบง่าย เพราะ “ บ้าน ” มีอันตรายอันเกิดได้ทั้งจากโจร ผู้ร้ายและคนภายในชุมชนละแวกย่าน เดียวกัน ผู้หญิงที่อยู่ดูแลบ้านเรือนใน ระหว่างสามีไม่อยู่ จึงต้องรู้จักป้องกัน ตนเอง ดังนั้น ก็ไม่แปลกที่ผู้หญิงสมัย ก่อนจะต้องได้เรียนวิชาการต่อสู้ อย่าง
57