มนุษย์อยุธยา | Page 18

แต่ทว่าจิตรกรรมชิ้นนี้วาดขึ้นในสมัยปลายรัชกาลที่ ๗ และพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็สร้างขึ้นเมื่อ พ . ศ . ๒๕๔๔ ที่ผ่านมานี้เอง ๑๑ ดังนั้น การ เข้าใจว่าพระเกศาของกษัตริย์อยุธยาจะสั้นเกรียนอย่างที่เราเห็นนั้นนับว่าผิด เพราะ จิตรกรรมเก่ากว่านั้น เช่น ที่เล่าเรื่องทศชาติ พระโพธิสัตว์แต่ละองค์ก็มีพระเกศายาว ประบ่าแทบทั้งสิ้น หรือประติมากรรมพระพุทธรูปย้อนกลับไปจนถึงพระพุทธรูปสมัย อโยธยา เช่น พระพุทธไตรรัตนนายก หรือหลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง , หลวงพ่อแก่วัด ธรรมิกราช , พระนอนวัดโลกยสุธาราม ก็ล้วนมีพระเกศายาวทั้งสิ้น ( ที่พระเกศายาวแล้ว ม้วนรัดไว้ด้านบนนั้น อาจมีเหตุผลเนื่องจากความนิยมในรูปแบบทรงผมของชาวจีนที่ เข้ามามีอิทธิพลในอยุธยาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ )
( ขวา ) พระบรมสาทิสลักษณ์ของสมเด็จพระนเรศวร ในอุโบสถวัดสุวรรณดาราราม จิตรกรรมชิ้นนี้ วาดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๗ นี่เอง และอาจเป็นต้นแบบพระวรกายของสมเด็จพระนเรศวรที่คนไทย เชื่อกันในปัจจุบัน ภาพจาก น . ณ . ปากน�้ำ , วัดสุวรรณดาราราม ( กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ ๒๕๔๕ ).
20