มนุษย์อยุธยา | Page 22

กล่าวได้ว่า พระวรกายที่งามสง่าเพียบพร้อมสมบูรณ์ส่งผลต่อการมองกษัตริย์ ในฐานะผู้มีบุญญาธิการตามความเชื่อทางศาสนา ไม่ว่าจะเป็น “ เทวราชา ” ตามศาสนา พราหมณ์-ฮินดู “ พุทธราชา ” ตามคติพุทธมหายาน หรือ “ ธรรมราชา ” และ “ จักรพรรดิ ราช ” ตามคติพุทธเถรวาท ๒๑ และหากการแสดงพระวรกายผ่านทางพระราชพิธีต่างๆ เป็นส่วนส�ำคัญของสิ่งที่นักวิชาการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นิยามว่า “ นาฏกรรมรัฐ ” ( Theatre State ) ๒๒ การพระราชพิธีตลอดจนการปฏิบัติพระวรกายต่างๆ ของกษัตริย์ เจ้า นาย และขุนนางในอยุธยา ก็มีประเด็นที่สามารถศึกษาได้ตามแง่มุมดังกล่าว เนื่องด้วย เป็นของส�ำคัญและจ�ำเป็นส�ำหรับโลกทางสังคมวัฒนธรรมของอยุธยา เนื่องจากเป็นการ ปกครองโดยตัวมันเอง มิใช่เพื่อสนับสนุนการปกครองอีกต่อหนึ่ง

ร่างกายของขุนนาง “ มนุษย์อยุธยา ” ผู้มีศักดิ์

ขุนนางจากหลักฐานภาพที่ปรากฏแบ่งออกได้เป็นร่างกายของขุนนางชั้นผู้น้อย กับชั้นผู้ใหญ่

ศักดิ์น้อยห่มน้อย ศักดิ์มากห่มมาก

ร่างกายของขุนนางชั้นผู้น้อยจะเล็กบาง ขณะที่ขุนนางชั้นผู้ใหญ่จะมีรูปร่าง ค่อนข้างท้วมจนถึงอ้วนพี ภาพของขุนนางชั้นผู้น้อยที่เห็นได้ชัด นอกจากตามภาพของ ชาวฝรั่งเศสที่เป็นตัวประกอบหมอบกราบอยู่ในภาพ ยังมีภาพสเก๊ตช์ที่ปรากฏอยู่ใน จดหมายเหตุลา ลูแบร์
๒๓
ซึ่งสามารถแบ่งย่อยออกได้อีก เพราะมีทั้งขุนนางผู้น้อยที่สวม ลอมพอกแบบเปอร์เซีย ( หมวกประดับศีรษะมีรูปทรงแหลมยาว ) กับขุนนางชั้นผู้น้อยที่ ไม่มีลอมพอก ซึ่งบ่งบอกว่ามีสถานภาพต�่ำกว่าขุนนางที่มีลอมพอก
36