มนุษย์อยุธยา | Page 20

22 การที่กษัตริย์อยุธยามีพระเกศา ที่ยาวนั้นก็เพื่อให้เหมาะแก่การสวมมหา มงกุฎ ซึ่งตรงข้ามกับผมสั้นเกรียนของ ไพร่ ทรงผมเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คนใน สังคมสมัยอยุธยาใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าใคร เป็นใคร มีสถานะบทบาทหน้าที่อย่างไร ในแง่นี้พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระ เจ้าอู่ทองที่ตั้งอยู่ทิศตะวันออกติดกับวัด พระศรีสรรเพชญ์และบริเวณริมบึงพระ รามนั้น น่าจะท�ำได้สอดคล้องกับหลักฐาน มากที่สุดแล้ว เพราะลอกเลียนลักษณะ เอาจากพระพุทธรูปหลวงพ่อแก่วัดธรรมิก ราช ( บน ) พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้า อู่ทอง สังเกตพระเกศาของพระองค์ที่มัด รวบไว้ข้างบนคล้ายกับพระเศียรของพระ พุทธรูปจากวัดธรรมิกราช ภาพจาก กสิณธร ราชโอรส , CC BY-SA 4.0 Wikimedia common ( ซ้าย ) เศียรพระพุทธรูปจากวัดธรรมิกราช พระเกศาของพระพุทธรูปองค์นี้อาจเป็นทรง ผมของชนชั้นน�ำในสมัยอยุธยาก็เป็นได้ ภาพจาก รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอีกมาก ที่หลักฐานจิตรกรรมและประติมากรรม ดังกล่าว ได้สะท้อนให้เห็นลักษณะพระ วรกายของกษัตริย์อยุธยา เพราะหลักฐาน เหล่านี้มีที่มาจากความพยายามสร้างภาพ แทนของกษัตริย์ในอุดมคติของชนชั้นน�ำ อยุธยา