ทดลองอ่าน ปราสาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | Page 48

เก็จและลวดบัว

เก็จและลวดบัวคืออะไร
เก็จคือการยื่นและยุบของผนัง ซึ่งท�ำให้เกิด “ เส้นตั้ง ” บนสถาปัตยกรรม ส่วนลวดบัวคือแถบนูนในแนวนอนของผนัง พบมากที่ฐาน ซึ่งท�ำให้เกิด “ เส้น นอน ” บนสถาปัตยกรรม ( รูปที่ ๑ . ๒๓ )
เส้นตั้งคือการออกแบบผนังของอาคารให้ยื่นออกมาและยุบเข้าไป ซึ่งการยื่นออกมาเรียกว่า “ เก็จ ” ส่วนเส้นนอนนั้นคือกระบวนการใช้เส้นนูน และการเว้าเข้าในแนวนอนคาดสถาปัตยกรรม ซึ่งเส้นนูนดังกล่าวมีค�ำศัพท์ ทางสถาปัตยกรรมเรียกว่า “ ลวดบัว ” ทั้งหมดนี้ท�ำให้ปราสาทมีความซับซ้อน
การท�ำให้สถาปัตยกรรมมีความซับซ้อน เป็นเครื่องมือของช่างอินเดีย ในสมัยโบราณที่จะใช้บ่งบอกว่าสถาปัตยกรรมนั้นๆ มีฐานันดรสูง แตกต่าง ไปจากอาคารธรรมดา ( เช่น บ้านเรือนคนธรรมดา ) ที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน
ด้วยเหตุนี้ ถ้าปราสาทเป็นที่ประทับของเทพเจ้า ( เทวาลัย ) ที่จะต้องเป็น อาคารฐานันดรสูงแล้ว ช่างอินเดียในสมัยโบราณจึงต้องออกแบบให้ซับซ้อน โดยใช้เส้นตั้งและเส้นนอนเป็นเครื่องมือ ซึ่ง “ เก็จ ” ก็คือ “ เส้นตั้ง ” และ “ ลวด บัว ” ก็คือ “ เส้นนอน ” นั่นเอง
การท�ำเก็จและลวดบัว แม้จะไม่ได้มีประโยชน์ใดๆ เลยด้านหน้าที่การใช้ งาน ( function ) แต่กลับสร้างความซับซ้อนทางสถาปัตยกรรม เมื่อแสงอาทิตย์ เปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลา ทั้งเก็จและลวดบัวท�ำให้เกิดความงดงามของแสง เงาอย่างประหลาด และปริมาตรเชิงพื้นที่อันน่าสนใจ
( ขวา ) รูปที่ ๑ . ๒๓ การยกเก็จ การสร้างความซับซ้อนด้วย “ เส้นตั้ง ” และลวดบัว การสร้าง ความซับซ้อนด้วย “ เส้นนอน ” ตัวอย่างจากเทวาลัยอันนิเกริ ศิลปะจาลุกยะตะวันตกระยะหลัง
32