ทดลองอ่าน ปราสาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | Page 30

ในอินเดีย การแยกขาดกันระหว่างปราสาทกับสถูปยังคงชัดเจนทั้งทาง ด้านรูปแบบหน้าตา และการแยกขาดกันระหว่างศาสนา ทั้งนี้ ไม่พบการใช้ สถูปในศาสนาฮินดูเลย ส่วนปราสาทอาจเลื่อนไหลได้ทั้งในศาสนาฮินดูและ พุทธศาสนามหายาน
การแยกขาดเช่นนี้ปรากฏอยู่ในศิลปะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลาก หลายสกุล เช่น ศิลปะเขมรและศิลปะจาม เนื่องจากทั้งผู้ปกครองและ ประชาชนส่วนมากนับถือศาสนาฮินดูเป็นหลัก จึงปรากฏเฉพาะเพียงปราสาท เท่านั้น ส่วนศิลปะบางสกุล บางพื้นที่ก็มีความพิเศษ เช่น ในชวาที่มีการนับถือ ทั้งศาสนาฮินดูและพุทธศาสนามหายานอย่างคู ่ขนาน จึงมีทั้งปราสาทส�ำหรับ เทพเจ้าฮินดู ปราสาทส�ำหรับทิพยบุคคลในพุทธศาสนามหายาน และยังปรากฏ สถูปที่ถูกตีความใหม่ว่าหมายถึงพระพุทธเจ้าผู้ทรงพระชนม์อีกด้วย
ส่วนศิลปะศรีเกษตรในพม่ายังคงใช้สถูปทึบที่มีอัณฑะขนาดใหญ่ในการ บรรจุพระบรมธาตุ ใกล้เคียงกับแนวความคิดแบบพุทธศาสนาเถรวาทแบบที่ พบในลังกา ( รูปที่ ๑ . ๗ )
ทั้งนี ้ ที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนแต่มีข้อยกเว้น ซึ่งจ�ำเป็นต้องพิเคราะห์ เป็นกรณีๆ ไป
( ขวา ) รูปที่ ๑ . ๗ ศิลปะศรีเกษตร ที่ใช้สถูปแบบมีอัณฑะขนาดใหญ่เป็นที่บรรจุพระบรมธาตุ ตามแนวความคิดของพุทธศาสนาเถรวาทที่มองว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว
14