ทดลองอ่าน ปราสาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | Page 27

ต้องไม่ลืมว่าพระบรมธาตุเป็น “ ของชิ้นเล็ก ” แต่มีค่า การสร้างสถูป แล้วมีกรุที่ปิดตายจึงเป็นการ ( ๑ ) ตรึงให้ของมีค่าที่สุด “ อยู ่กับที่ ” ไปตลอดกาล ( ๒ ) เพื่อให้พระบรมธาตุที่แม้ว่าเป็นของชิ้นเล็ก แต่เมื่อมีสถูปครอบแล้วย่อม ท�ำให้คนสามารถรับรู้ได้จากขนาดสถูปที่มหึมา เห็นได้แต่ไกล
องค์ประกอบที่ส�ำคัญของสถูปก็คือเนินดินฝังศพซึ่งมักอยู ่ในผังกลม จึง ท�ำให้สถูปในอินเดียเป็นผังกลมเสมอ ทั้งนี้ ต่างไปจากเรือนธาตุของปราสาทที่ มักอยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส
ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า เนื่องด้วยปราสาทพัฒนามาจากอาคาร / บ้านที่มีห้อง ภายใน มีประตูที่สามารถเข้าไปได้ การที่อาคาร / บ้านอาศัยวางผังโดยใช้เสา จ�ำนวน ๔ ต้น เป็นตัวก�ำหนดมุมห้องและท�ำให้อยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสเสมอ ปราสาทจึงอยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสด้วยเช่นกัน
ส่วนเนินดินฝังศพเกิดจากมูลดินซึ่งเป็นทรงกลมและผังกลมโดย ธรรมชาติอยู่แล้ว
เนินดินฝังศพส�ำหรับสถูปมักมีลักษณะคล้ายขันขนาดใหญ่คว�่ำ ( ภาษา โบราณเรียกว่า “ โอคว�่ำ ”) ในขณะที่อินเดียเองมักมองว่าดูคล้ายไข่จึงเรียกพื้นที่ ส่วนนี้ว่า “ อัณฑะ ”
ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าอัณฑะคือส่วนเนินดินฝังศพ ไม่มีประตู หน้าต่าง สถาปัตยกรรมจึงแตกต่างจากตัวอาคาร ( ซึ่งต่อไปจะขอเรียกว่า “ เรือนธาตุ ”) ของปราสาทที่มีประตู หน้าต่าง ซุ้มจระน�ำ เสา เสมอ
อัณฑะจึงเป็นส่วนส�ำคัญที่สุดของสถูป แตกต่างไปจากปราสาทที่มี เรือนธาตุเป็นส่วนส�ำคัญที่สุด
( ซ้าย ) รูปที่ ๑ . ๔ สถูป มีกรุที่ปิดตาย ไม่มีประตู ผังกลม ส่วนส�ำคัญสุดคือเนินดินฝังศพ ที่เรียกกันในศัพท์ทางสถาปัตยกรรมว่า “ อัณฑะ ”
11