ทดลองอ่าน ปราสาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | Page 25

ปราสาทกับสถูปต่างกันอย่างไร

ปราสาทเปรียบประหนึ่ง “ บ้านของพระเป็นเจ้า ” ส�ำหรับเทพเจ้าที่ “ ยัง มีชีวิต ” แตกต่างไปจากสถูปที่เป็น “ หลุมศพของบุคคล ” ที่เสียชีวิตไปแล้ว
ในเมื่อ “ บ้าน ” จะต้องมี “ ห้อง ” ที่เข้าไปภายในได้ ปราสาทจึงต้องมีห้อง ภายในที่สามารถเดินเข้าไปได้เสมอ ห้องนี้เรียกว่า “ ครรภคฤหะ ” ต้องมีประตู ส�ำหรับเข้าไปภายในห้อง ( ถ้าไม่มีประตู ห้องนั้นจะเข้าไปไม่ได้และจะท�ำให้ อาคารหลังนั้นไม่ใช่บ้านของเทพเจ้าอีกต่อไป ) ( รูปที่ ๑ . ๓ )
ประตูนี้จะท�ำให้พราหมณ์ / นักบวชสามารถเดินเข้าไปภายในเพื่อ ปรนนิบัติเทพเจ้า โดยผ่านทางประติมากรรมภายในครรภคฤหะประหนึ่ง เทพเจ้าองค์นั้นยังทรงพระชนม์ เช่น การถวายอาหาร การอาบน�้ำสรงสนาน การถวายเครื่องแต่งตัว โดยท�ำทุกวันประหนึ่งกิจวัตร
ทั้งนี้ แตกต่างไปจากสถูปซึ่งเป็นหลุมฝังศพที่ด้านในไม่สามารถเข้าไป ได้ การประดิษฐานชิ้นส่วนอัฐิที่มาจากการเผาศพจึงต้องอยู่ในห้องปิดตายที่ เรียกว่า “ กรุ ” ห้องนี้อาจอยู่ภายในส่วนที่ลึกที่สุด ไม่มีประตูทางเข้า ไม่มีการ ถวายอาหาร การอาบน�้ำสรงสนาน การถวายเครื่องแต่งตัวใดๆ
ในเมื่อศาสนาฮินดูมองว่าเทพเจ้าทุกองค์ทรงพระชนม์ตลอดกาล ไม่เกิด ไม่ตาย และด�ำรงอ�ำนาจแห่งการสร้าง รักษา ท�ำลาย ฯลฯ แม้ว่าโลกและสัตว์โลก จะเป็นอนิจจัง คือมีจุดก�ำเนิดและจุดสิ้นสุด แต่เทพเจ้าไม่เคยมีจุดก�ำเนิดและ จุดสิ้นสุด ด้วยเหตุนี้ การสร้างปราสาทให้เหมือน “ บ้าน ” เป็นที่ประทับจึงเป็น สิ่งเดียวที่ยอมรับในศาสนาฮินดู
ทั้งนี้ ในศาสนาฮินดูไม่เคยปรากฏการสร้าง “ สถูปพระศิวะ / สถูปพระ วิษณุ ” เลย เพราะสถูปเป็นหลุมฝังศพที่จ�ำกัดเฉพาะผู้ที่สิ้นพระชนม์ไปแล้ว เท่านั้น
( ซ้าย ) รูปที่ ๑ . ๓ ปราสาทมีห้องภายในที่เรียกว่า “ ครรภคฤหะ ” มีผนังภายนอกที่เรียกว่า เรือนธาตุ มีประตูทางเข้า แผนผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีชั้นหลังคา ตัวอย่างจากจันทิเกดงสงโงร์
9