ทดลองอ่าน ปราสาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | Page 50

นักประวัติศาสตร์ศิลปะใช้ทั ้งเก็จและลวดบัวในการวิเคราะห์แยกแยะ พัฒนาการทางศิลปกรรม เนื่องด้วยเก็จและลวดบัวมีพัฒนาการแตกต่างกัน ออกไปในแต่ละช่วงสมัย นอกจากใช้ก�ำหนดอายุแล้วยังใช้เชื่อมโยงสายอิทธิพล ระหว่างอินเดียสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในแต่ละภูมิภาคได้อีกด้วย
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเก็จ
ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าเก็จคือส่วนที่ยื่นออกมาจากผนังอาคาร ซึ่งท�ำให้ เกิดความซับซ้อนทางสถาปัตยกรรม ภาษาอังกฤษเรียกว่า offset , projection ส่วนภาษาสันสกฤตเรียกเก็จว่า “ รถะ ” ( Ratha ) ๑๐ ( รูปที่ ๑ . ๒๔ )
เมื่อเกิดการยื่นออกมาของเก็จก็ท�ำให้เกิดส่วนลึกระหว่างเก็จด้วย ส่วน ลึกนี้ไม่มีค�ำศัพท์เฉพาะในภาษาไทย บางท่านอาจเรียกว่า “ ผนังจริง ” บางท่าน อาจเรียกว่า “ ร่องระหว่างเก็จ ” ในภาษาอังกฤษเรียกว่า recession ส่วนภาษา สันสกฤตเรียกพื้นที่ส่วนลึกนี้ว่า “ สลิลานตระ ” ( Salilantara )
( ขวา ) รูปที่ ๑ . ๒๔ การแยกเก็จ ( รถะ , projection ) กับร่องระหว่างเก็จ ( สลิลานตระ , recession ) โดยสังเกตการยื่นออกและยุบเข้าทางสถาปัตยกรรม ตัวอย่างจากเทวาลัยมหาเทพ หมู ่บ้าน อิตตากิ ศิลปะจาลุกยะตะวันตกระยะหลัง
34