ตามรอยอาทิตย์อุทัย : แผนสร้างชาติไทยสมัยคณะราษฎร | Page 23

รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู ้แทนราษฎร ข้าราชการ และปัญญาชนในขณะนั้น ด้วยเห็นว่า “สร้างชาติ” คือแนวความคิดร่วมกันของสมาชิกคณะราษฎร ที่ต้องการท�ำให้ประเทศไทยรุดหน้าไปสู่ความเป็นสมัยใหม่ ซึ่งไม่เพียง แต่ท�ำให้ไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตย ปลุกเร้ากระแสชาตินิยม (Nationalism) และการทหารให้เกิดขึ้นในไทยเท่านั้น แต่ยังครอบคลุม ถึงความพยายามพัฒนาประเทศไปสู่สภาวะความเป็นสมัยใหม่อย่าง ประเทศอารยะด้วย ดังเช่นที่ พล.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา ในฐานะ หัวหน้าคณะราษฎรและนายกรัฐมนตรีเคยกล่าวไว้ถึงความคิดของเขา ใน พ.ศ. ๒๔๘๐ หรือ ๕ ปีภายหลังการปฏิวัติว่า “พวกเราต้องช่วยกัน ท�ำนุบ�ำรุงประเทศชาติให้เจริญรุ ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป จนเท่าเทียมหรือเพียง ใกล้เคียงอารยประเทศ” ๑๙ กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ แนวความคิดในการ พัฒนาประเทศหรือ “สร้างชาติ” นั้นมิได้เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. เท่านั้น แต่คณะราษฎรกลุ่มผู้น�ำการเมืองใหม่มีแนวความคิดดังกล่าว มาตั้งแต่สมัยรัฐบาลพระยาพหลฯ แล้ว เพียงแต่รัฐบาลสมัยจอมพล ป. ด�ำเนินการเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจังสืบต่อมาจากรัฐบาลก่อนหน้าเท่านั้น กล่าวโดยสรุปคือ คณะราษฎร ผู้กุมทิศทางการบริหารประเทศขณะนั้น มีเป้าหมายร่วมกันคือ การพัฒนาประเทศหรือการสร้างชาติไปสู่สภาวะ เท่าเทียมหรือใกล้เคียงอารยประเทศนั่นเอง ทั้งนี้ ควรบันทึกด้วยว่าแนวทางการพัฒนาประเทศในสมัยคณะ ราษฎรเริ่มปรากฏชัดในสมัยรัฐบาลพระยาพหลฯ (พ.ศ.๒๔๗๖-๒๔๘๑) ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า “สร้างชาติ” ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. นั้นเป็นการ พัฒนาใน ๓ ด้านที่ส�ำคัญดังนี้ ประการแรก ด้านการพัฒนาการทหาร (Military development) หมายถึงการสร้างความเข้มแข็งให้กองทัพ ด้วยการปรับปรุงวิทยาการทหาร การจัดซื้อยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย ประการที่ ๒ การจัดตั้งหน่วยงานใหม่ๆ ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ (Economics development) ต่อมาถูกเรียกอย่างสรุปในสมัยรัฐบาล ตามรอยอาทิตย์อุทัย 15