ตามรอยอาทิตย์อุทัย : แผนสร้างชาติไทยสมัยคณะราษฎร | Page 22

พยายามต่อต้านวัฒนธรรมเดิมจากระบอบเก่านั่นเอง ๑๗ กล่าวอีกอย่าง หนึ่งคือ ตีความการสร้างชาติในแง่บวก และเห็นว่าโชคร้ายที่การด�ำเนิน นโยบายสร้างชาติของรัฐบาลต้องเผชิญหน้ากับสงครามโลกครั้งที่ ๒ เสียก่อน ส่งผลให้รัฐบาลมีความยากล�ำบากในการผลักดันนโยบาย ดังกล่าว และเมื่อจอมพล ป. พ่ายแพ้ในการรักษาอ�ำนาจและถูกเย้ยหยัน จากฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ถึงแม้จอมพล ป. จะกลับมามีอ�ำนาจทาง การเมืองอีกครั้งในช่วงหลังสงครามก็ตาม แต่เขาก็มิได้ผลักดันโครงการ ขนาดใหญ่เพื่อปฏิวัติประเทศแบบก่อนสงครามโลกอีกเลย ๑๘ กระนั้นก็ดี องค์ความรู้เกี่ยวกับต้นเหตุความสัมพันธ์ระหว่าง ไทย-ญี่ปุ่นที่ใกล้ชิด ตลอดจนกระแสความคิดของสังคมและกลุ่มผู้น�ำ ทางการเมืองใหม่ของไทยมีความรู้สึกนึกคิดอย่างไรต่อสภาพความ เปลี่ยนแปลงของโลก ความก้าวหน้าของญี่ปุ่น และการก�ำหนดนโยบาย การพัฒนาประเทศใหม่ภายหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ นั้น ยังปราศจาก การศึกษาที่ให้ความกระจ่างชัดเพียงพอ ทั้งยังปราศจากค�ำอธิบายถึงที่มาของแนวทางการพัฒนาประเทศ ภายหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ว่า กลุ่มผู้น�ำไทยได้แนวคิดมาจากตัวแบบ ของประเทศใด แต่ข้อสรุปทั่วไปของการ “สร้างชาติ” ที่เกิดขึ้นในสมัย จอมพล ป. นั้นมักเป็นไปในท�ำนองว่า “สร้างชาติ” เกิดขึ้นจากความคิด ริเริ่มของผู ้น�ำทางการเมืองใหม่หรือจอมพล ป. แต่เพียงผู ้เดียว และเป็น ไปเพื่อรักษาอ�ำนาจของตนเท่านั้น ซึ่งนโยบายเช่นนี้ถูกอธิบายว่า น�ำ ประเทศไปสู่ความคลั่งชาติอันปราศจากการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ จากสถาบันการเมืองอื่นๆ ในระบอบประชาธิปไตย ด้วยเหตุนี้ หนังสือเล่มนี้จึงต้องการตรวจสอบ การแสวงหา แนวทางการพัฒนาประเทศไทยของรัฐบาลหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอ�ำนาจโลกในเอเชีย ผ่าน บันทึกความทรงจ�ำและบันทึกการเดินทางของสมาชิกคณะราษฎร 14 ณัฐพล ใจจริง