ตามรอยอาทิตย์อุทัย : แผนสร้างชาติไทยสมัยคณะราษฎร | Page 21

นุ่มนนท์ (พ.ศ. ๒๕๒๐) และบุปผา ทิพย์สภาพกุล (พ.ศ. ๒๕๒๙) เห็น ว่าจอมพล ป. ต้องการสร้างลัทธิทหารนิยม ลัทธิชาตินิยม เพื่อรักษา อ�ำนาจทางการเมืองของตนเอง ทั้งมีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่ ไร้เหตุผล ส่งผลให้วัฒนธรรมไทยมีความแตกต่างไปจากเดิมอย่างมาก ซึ่งเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม อีกทั้งรัฐบาลยังปลุกระดมมติมหาชนด้วยการปลุกเร้าให้ประชาชนเข้าใจ ว่าไทยอยู่ในยุคใหม่ ไทยก�ำลังจะเป็นชาติอารยะทางวัฒนธรรมและ เศรษฐกิจ ๑๕ อย่างไรก็ตาม โยชิฟูมิ ทามาดะ (Yoshifumi Tamada) (พ.ศ. ๒๕๓๗) เห็นว่าการศึกษาการบริหารของรัฐบาลจอมพล ป. โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง การด�ำเนินนโยบาย “สร้างชาติ” มักถูกศึกษาในบริบทของ สงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นส�ำคัญ ด้วยเหตุนี้ เนื้อหาสาระของนโยบาย สร้างชาติที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ จึงถูกตีความหมาย ไปในลักษณะชาตินิยมและการมุ่งท�ำสงครามของรัฐบาลเผด็จการ ฟาสซิสต์ แต่แท้จริงแล้ว เขาเห็นว่านโยบายสร้างชาติคือแนวทางการพัฒนา ประเทศ (National development) ของรัฐบาลจอมพล ป. ที่เกิดขึ้น ก่อนสงคราม ทั้งนี้ นโยบายสร้างชาติมีจุดมุ ่งเน้นส�ำคัญ คือการปรับปรุง การศึกษา การสร้างวัฒนธรรมแห่งชาติ และการสร้างกองทัพ เพื่อท�ำให้ มหาอ�ำนาจตะวันตกเกรงใจไทย ๑๖ นอกจากนี้ ทามาดะเห็นว่านโยบายทางวัฒนธรรมอันเป็นส่วน หนึ่งของการสร้างชาติของรัฐบาลจอมพล ป. ในช่วงก่อนสงครามโลก ครั้งที่ ๒ คือการสร้างความชอบธรรมให้กับการปกครองของระบอบใหม่ นั่นเอง เนื่องจากรัฐบาลต้องการให้ประชาชนเป็นองค์ประกอบส�ำคัญ ของชาติ ดังนั้น รัฐบาลจึงเน้นการพัฒนา “ชาติ” ขึ้นเพื่อให้เกิดความ เสมอภาคระหว่างประชาชน ดังนั้น ชาตินิยมใหม่ของรัฐบาลคือความ ตามรอยอาทิตย์อุทัย 13