ตามรอยอาทิตย์อุทัย : แผนสร้างชาติไทยสมัยคณะราษฎร | Page 17

ประวัติศาสตร์ว่าด้วยการพัฒนาประเทศไทยไว้ห้วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่ง ห้วงเวลานั้นคือห้วงเวลาแห่งการพัฒนาประเทศในช่วงภายหลังปฏิวัติ ๒๔๗๕ ที่ไทยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับญี่ปุ่น ทั้งนี้ ห้วงเวลาดังกล่าวยังถูกศึกษาไม่มากนัก ดังเช่น ผาณิต รวมศิลป์ (พ.ศ. ๒๕๒๑) ศึกษาประวัติศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจ ของไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม (พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๗) William Swan (พ.ศ. ๒๕๒๙) ศึกษาความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่าง ญี่ปุ่น-ไทยตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๘๕ ส่วนสุภาภรณ์ จรัลพัฒน์ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ศึกษาประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นช่วง พ.ศ. ๒๔๖๓-๒๔๘๓ และพรรณี บัวเล็ก (พ.ศ. ๒๕๔๐) ศึกษาบทบาท ญี่ปุ่นกับการค้าและการลงทุนในไทยระหว่างสงครามโลกครั้ง ๑-๒ ๗ ซึ่งงานวิจัยเหล่านี้เป็นการศึกษาที่ให้ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่มีคุณูปการ อย่างยิ่งส�ำหรับการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในสมัยต่อมา อย่างไรก็ตาม เหตุที่การพัฒนาประเทศไทยช่วงหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ได้รับความสนใจน้อยจากนักวิชาการ เนื่องจากมีความเชื่อกัน ว่า “คณะราษฎรมีความกระจ่างเพียงการล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์ลง แต่ในทางเศรษฐกิจนั้นว่างเปล่า” ๘ กล่าวอีกอย่างคือ ช่วงสมัย เวลานั้นไม่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยส�ำคัญ หรือหากมีการอธิบาย การพัฒนาประเทศไทยภายหลัง ๒๔๗๕ อยู่บ้างก็มักถูกอธิบายผ่าน เค้าโครงการเศรษฐกิจ (พ.ศ. ๒๔๗๖) ของปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็น แนวทางสังคมนิยมที่ไม่ประสบความส�ำเร็จ และถึงแม้ว่าในเวลาต่อมา จะเกิดแนวทางการพัฒนาประเทศใหม่ขึ้น หรือเรียกกันต่อมาว่า “สร้าง ชาติ” ก็ตาม แต่แนวทางการพัฒนาดังกล่าวมักถูกสรุปรวมไว้กับผลงาน รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในลักษณะความคลั่งชาติ ความไร้ เหตุผลของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่น่าขบขัน และน�ำไปสู่ข้อ สรุปของสังศิต พิริยะรังสรรค์ (พ.ศ. ๒๕๒๖) ว่า การพัฒนาประเทศ ตามรอยอาทิตย์อุทัย 9