ตามรอยอาทิตย์อุทัย : แผนสร้างชาติไทยสมัยคณะราษฎร | Page 16

้ สินค้าเกษตรของไทยไปสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจไทย พวกเขาพึงพอใจเพียงความสามารถในการรักษา อ�ำนาจและรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของพวกตนเท่านั้น ๕ ส�ำหรับสมัยที่ ๒ แห่งการพัฒนาประเทศของไทยนั้น ค�ำอธิบาย ที่มีต่อช่วงสมัยการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นต้นไปมีอยู ่ว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวไทยยึดแบบ อย่างการพัฒนาประเทศตามแบบอเมริกัน (Americanization) ในยุค สงครามเย็น (Cold War) ที่สหรัฐอเมริกาและธนาคารโลก (World Bank) มีอิทธิพลเหนือไทยโดยการก�ำหนดให้ไทยภายใต้รัฐบาลเผด็จการ ทหารของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ด�ำเนินการต่อต้านคอมมิวนิสต์ และการส่งเสริมการขยายตัวของเศรษฐกิจทุนนิยมไปพร้อมกัน โดย แผนพัฒนาประเทศนี้ก�ำหนดให้รัฐบาลไม่เข้าแทรกแซงการค้าและ อุตสาหกรรม มีการจ�ำกัดจ�ำนวนรัฐวิสาหกิจ และก�ำหนดให้รัฐบาล ขยายการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งเปิดรับความช่วยเหลือจาก ต่างประเทศ กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ การพัฒนาประเทศไทยในช่วงเวลา ดังกล่าวคือ การปล่อยให้ทุนภาคเอกชนเป็นผู ้น�ำการพัฒนาอุตสาหกรรม ผ่านบรรษัทข้ามชาติและทุนเอกชนภายในประเทศนั่นเอง ๖ ดังนั้น จากที่กล่าวมาข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า สถานะทางความรู ว่าด้วยแนวทางการพัฒนาประเทศไทยที่ผ่านมา มีค�ำอธิบายส�ำคัญอยู่ ๒ ช่วงเวลา กล่าวคือ รัฐบาลสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์เลือกตัวแบบ การพัฒนาตามแบบตะวันตก (Westernization) ส่วนในยุคสงครามเย็น นั้น รัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เลือกตัวแบบการพัฒนาประเทศ ตามแบบอเมริกัน (Americanization) ซึ่งเริ่มตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมไทย ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๐๔) เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ภายใต้องค์ความรู ้ว่าด้วยค�ำอธิบายแบบการพัฒนา ประเทศไทยทั้ง ๒ ยุคสมัยข้างต้นนั้น กลับทิ้งช่องว่างค�ำอธิบายทาง 8 ณัฐพล ใจจริง