ตามรอยอาทิตย์อุทัย : แผนสร้างชาติไทยสมัยคณะราษฎร | Page 15

น�ำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมที่อ�ำนวยความสะดวกจาก ประเทศทุนนิยมศูนย์กลาง (Core) ในยุโรปเท่านั้น โดยปล่อยให้การ ประกอบการทางเศรษฐกิจตกอยู่ในมือชาวต่างชาติ เช่น ชาวตะวันตก ผู้เป็นเจ้าอาณานิคม และชาวจีน ด้วยความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกันนี้ ไทยจึงตกอยู่ในฐานะเป็น เพียงประเทศชายขอบ (Periphery) เป็นผู้ผลิตสินค้าการเกษตรป้อน ความต้องการของประเทศทุนนิยมศูนย์กลางในยุโรปเท่านั้น แม้เศรษฐกิจ ของไทยจะเริ่มเปลี่ยนจากเศรษฐกิจแบบพอยังชีพไปสู่เศรษฐกิจแบบ การค้า เกิดการหมุนเวียนของระบบเงินตรา การตลาด และมีผู ้ประกอบ การค้าบ้างก็ตาม แต่โดยภาพรวมแล้ว การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยยัง คงมีความอ่อนแอ ไม่เข้มแข็งเพียงพอที่จะสามารถด�ำรงความเป็นอิสระ จากประเทศทุนนิยมศูนย์กลางได้๒ หรือกล่าวอีกอย่างก็คือ เศรษฐกิจ การค้าของไทยที่ก่อตัวขึ้นจากการส่งออกแต่เพียงวัตถุดิบขั้นปฐมภูมินั้น ไม่สามารถเป็นสาเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงในรากฐานการผลิตของสังคม ไทยให้มีความก้าวหน้าขึ้นได้๓ ทั้งนี้ นักประวัติศาสตร์เศรษฐกิจที่ศึกษาแนวทางการพัฒนา ประเทศไทยที่ผ่านมาทั้งฉัตรทิพย์ นาถสุภา และสุธี ประศาสน์เศรษฐ (พ.ศ. ๒๕๒๗) ต่างวิจารณ์แนวทางการพัฒนาประเทศในระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ว่า การพัฒนาประเทศเวลานั้นประสบความ ล้มเหลวในการสร้างผลิตภาพให้กับการเกษตร การพัฒนาอุตสาหกรรม รวมทั้งการสร้างโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมพื้นฐานให้กับไทย และ การพัฒนาการศึกษาก็มุ่งแต่เพียงการผลิตคนเข้ารับราชการเท่านั้น ๔ เช่นเดียวกับพรรณี บัวเล็ก (พ.ศ. ๒๕๔๓) ที่เห็นว่าแม้ชนชั้นปกครอง จะสร้างความเจริญก้าวหน้าของไทยตามแบบตะวันตกด้วยการรวมศูนย์ อ�ำนาจ และน�ำเข้าเทคโนโลยีโดยมีเป้าหมายหลักทางการปกครองเป็น ส�ำคัญ แต่พวกเขากลับมิได้เป็นแกนน�ำในการเปลี่ยนแปลงการผลิต ตามรอยอาทิตย์อุทัย 7