ตามรอยอาทิตย์อุทัย : แผนสร้างชาติไทยสมัยคณะราษฎร | Page 14

จากความไร้เหตุผลของทหารนิยม และความปวดร้าวจากผลของสงคราม ก็ตาม แต่แท้จริงแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ญี่ปุ่นเกิดขึ้นก่อนหน้า ที่จะเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นเวลาถึง ๑๐ ปี เพียงแต่ว่ามีการ ศึกษาไม่มากนัก ทั้งที่ห้วงเวลาดังกล่าวมีความส�ำคัญยิ่งส�ำหรับไทย กล่าวคือ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของระบอบประชาธิปไตย การเริ่มต้นการ พัฒนาประเทศแบบใหม่ ความรู้สึกเป็นอิสระจากมหาอ�ำนาจตะวันตก ด้วยบริบทดังกล่าวส่งผลให้ไทยมีความมั่นใจในการก�ำหนดชะตาชีวิต ใหม่ของประเทศด้วยตนเอง ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมไปกับการเปลี่ยนแปลง ของบริบทภายนอกที่ญี่ปุ่นก้าวขึ้นมาเป็นประเทศมหาอ�ำนาจใหม่และ ทวีบทบาทบนเวทีการเมืองโลก ดังนั้น ปฏิสัมพันธ์ระหว่างไทย-ญี่ปุ่นใน ช่วงเวลาดังกล่าวจึงมีความส�ำคัญยิ่ง แต่ทว่ายังมีการศึกษาในประเด็นนี้ ไม่มากนัก กล่าวโดยทั่วไปแล้ว การศึกษาเรื่องการพัฒนาให้เป็นสมัยใหม่ ของไทย (Modernization) ที่ผ่านมานั้นมักแบ่งออกเป็น ๒ สมัย กล่าว คือ สมัยแรกนับแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู ่หัวจนถึง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งในช่วงเวลานั้นไทยมี การพัฒนาประเทศโน้มเอียงไปตามแบบตะวันตก (Westernization) อัน เป็นยุคล่าอาณานิคม (Colonialism) ซึ่งเป็นเวลาที่มหาอ�ำนาจตะวันตก เป็นผู้เรืองอ�ำนาจในโลก ด้วยเหตุนี้ ค�ำอธิบายที่มีต่อช่วงดังกล่าว จะเริ่มต้นอธิบายการ เข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่ของไทยจากการลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง พ.ศ. ๒๓๙๘ ว่า เมื่อไทยเริ่มเปิดประเทศด้วยการยอมท�ำสนธิสัญญา ทางการค้ากับอังกฤษเป็นฉบับแรก ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ ที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างไทยกับระบบโลก (World-System) แต่รัฐบาล ในครั้งนั้นมีความพึงพอใจกับการเป็นผู้ส่งออกสินค้าการเกษตรและการ 6 ณัฐพล ใจจริง