ตามรอยอาทิตย์อุทัย : แผนสร้างชาติไทยสมัยคณะราษฎร | Page 13

่ มาร์โค โปโล (พ.ศ. ๒๔๘๐) ซึ่งกรณีพิพาทครั้งนี้ สันนิบาตชาติประสบ ความล้มเหลวในการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศอีกเช่นกัน และไม่นานจากนั้น ญี่ปุ่นก็ก้าวขึ้นเป็นผู้จัดระเบียบโลกของเอเชียอย่าง แท้จริง อย่างไรก็ตาม ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลงระเบียบ โลกทั้งในยุโรปและเอเชียครั้งส�ำคัญในพุทธศตวรรษที่ ๒๕ นี้ ย่อมมี ผลกระทบต่อไทยด้วยเช่นนั้น กล่าวคือ ไทยเกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลง การปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ การปฏิวัติครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจาก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตย ส่งผลให้ โครงสร้างอ�ำนาจการเมืองเปลี่ยนแปลงจากอ�ำนาจอธิปไตยสถิตอยู่ที พระมหากษัตริย์ โดยมีเหล่าพระบรมวงศานุวงศ์ระดับสูงเป็นผู้บริหาร ประเทศมาสู่หลักการใหม่คือ อ�ำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน โดย มีรัฐธรรมนูญแบ่งอ�ำนาจของโครงสร้างการปกครองออกเป็นฝ่ายนิติ บัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ไม่แต่เพียงเท่านั้น การปฏิวัติ ครั้งนี้ คณะราษฎรผู้ท�ำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ประกาศ หลัก ๖ ประการ หรือนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐต่อประชาชนอีกด้วย ด้วยมุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม อย่างกว้างขวาง แม้นว่าไทย-ญี่ปุ ่นจะมีความสัมพันธ์ต่อกันเป็นเวลายาวนานตั้งแต่ สมัยอยุธยาก็ตาม ๑ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ญี่ปุ่นมีความกระชับ แน่นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนนั้นเกิดขึ้นภายหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ นี้เอง ทว่า เมื่อกล่าวถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ญี่ปุ่นสมัย ใหม่ (หลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕) มักถูกพิจารณาอยู่ภายใต้ช่วงเวลาของ สงครามโลกครั้งที่ ๒ อันเต็มไปด้วยเรื่องราวความคลั่งชาติที่น่าขบขัน ตามรอยอาทิตย์อุทัย 5