ตามรอยอาทิตย์อุทัย : แผนสร้างชาติไทยสมัยคณะราษฎร | Page 12

ท่ามกลางการเสื่อมสลายลงของระเบียบโลก (The World Order) ในยุโรป ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ จากสาเหตุที่เยอรมนีและอิตาลี เข้าท้าทายระเบียบโลกเดิม ในเยอรมนี ฮิตเลอร์ก้าวขึ้นเป็นผู้น�ำสูงสุด (พ.ศ. ๒๔๗๖) เขา ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนให้ปฏิเสธการยอมรับเงื่อนไขที่กดขี่ เยอรมนีในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ (Treaty of Versailles) ด้วยการฟื้นฟู กองทัพ สะสมอาวุธ และประกาศระเบียบโลกใหม่ของยุโรปที่น�ำโดย เยอรมนี การท้าทายทวีความเข้มข้นขึ้น เมื่อเยอรมนีบุกยึดครองไรน์ลันด์ (Rheinland) (พ.ศ. ๒๔๗๙) เพื่อใช้เป็นแหล่งถ่านหินและเหล็กส�ำหรับ ป้อนการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศ และเมื่อเยอรมนีบุกโปแลนด์ (พ.ศ. ๒๔๘๒) ส่งผลให้อังกฤษ มหาอ�ำนาจเดิม ประกาศสงครามกับ เยอรมนี จนเป็นชนวนเหตุให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในที่สุด ส่วน กรณีที่อิตาลีบุกอบิสสิเนีย (พ.ศ. ๒๔๗๘) ก็สะท้อนให้เห็นความล้มเหลว ของสันนิบาตชาติที่ไม่สามารถไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างประเทศได้ ในช่วงเวลานี้ ไม่แต่เพียงระเบียบโลกของยุโรปก�ำลังเสื่อมคลาย ลงเท่านั้น แต่กระแสขบวนการต่อต้านเจ้าอาณานิคมในเอเชียเวลานั้น มีส่วนสร้างความสั่นคลอนระเบียบโลกของเจ้าอาณานิคมตะวันตกด้วย อีกฟากหนึ่งของโลกนั้น ญี่ปุ่นก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางอ�ำนาจใหม่ (New Core) ของเอเชียตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๕ ด้วยความสามารถ ในการปรับวิทยาการสมัยใหม่ให้เข้ากับเอกลักษณ์ของคนญี่ปุ่นเพื่อการ พัฒนาประเทศให้มีความทันสมัย ญี่ปุ่นถีบตัวเองขึ้นเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่พร้อมด้วยความ แข็งแกร่งทางการทหาร อันเป็นที่ประจักษ์นับตั้งแต่การมีชัยเหนือรัสเซีย ในสงครามรัสเซีย-ญี ่ปุ่น (พ.ศ. ๒๔๔๗-๒๔๔๘) เป็นต้นมา ไม่นานหลัง จากนั้น ญี่ปุ่นเริ่มแสดงความมั่นใจแสนยานุภาพของตนเองในการบุก แมนจูเรีย (พ.ศ. ๒๔๗๔-๒๔๗๕) และการบุกจีนในเหตุการณ์ที่สะพาน 4 ณัฐพล ใจจริง