Telecom & Innovation Journal | Page 15
วันพุธที่ 1 มิถุนายน- วันพุธที่ 15 มิถุนายน 2559 TELECOM & INNOVATION JOURNAL Telecom Library
วันพุธที่ 1 มิถุนายน- วันพุธที่ 15 มิถุนายน 2559 TELECOM & INNOVATION JOURNAL Telecom Library
15
SYNERGY
ได้ดีกว่า ดังนั้น การค�ำนวณมูลค่าการลงทุน ต้องมีการจ�ำลองสถานการณ์ของผู ้เข้าร่วม ประมูลทุกราย โดยเฉพาะแผนการปูพรมและวางโครงข่าย ตลอดจนแผนการตลาด เพื่อให้รู้ต้นทุนของคู่แข่งแต่ละราย และสามารถคาดเดา“ ตัวเลขในใจ” ได้ ซึ่งตัวเลข ดังกล่าว จะน�ำมาเป็นกรอบแนวทางในการประมูล หรือเรียกว่า Bid Range ให้ผู้เข้า ร่วมประมูลใช้ในการตัดสินใจ“ ทฤษฎีเกมส์” คนเล่นอาจแพ้ แต่คนไม่เล่นยิ่งแพ้ เราอยู ่ในยุคที่ผู ้ให้บริการเกือบทุกรายมี“ นักทฤษฎีเกมส์” เป็นกุนซือเมื่อถึงเวลา ที่ต้องเข้าสู่สังเวียนการประมูล เพราะต้องมีการคาดเดาพฤติกรรมของผู้ที่เข้าร่วมทุก ฝ่าย โดยแปลงปัจจัยต่างๆที่ส่งผลในการตัดสินใจ ให้เป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์มา ประยุกต์ ซึ่งหากเกิดกรณีที่ต่างฝ่ายต่างใช้ทฤษฎีเกมส์กันทุกกระบวนท่า สิ่งที่เกิดขึ้น คือใครมีข้อมูลมากกว่าและแม่นย�ำที่สุดย่อมได้เปรียบ กรณีมีเพียงแค่ฝ่ายเดียวที่ใช้ ทฤษฎีเกมส์ ฝ่ายนั้นจะได้ประโยชน์ในด้านผลก�ำไรมากที่สุด( เพราะคุณไม่ต้องซื้อของ แพงโดยไม่จ�ำเป็น และไม่ซื้อของที่คนอื่นไม่ต้องการ) แต่ในทางกลับกัน หากมีเพียง ฝ่ายเดียวที่ไม่ใช้หลักทฤษฎีเกมส์ ในขณะที่ทุกฝ่ายต่างงัดกระบวนท่าทฤษฎีเกมส์มาใช้ อย่างเต็มที่ ฝ่ายที่ไม่ได้ใช้ จะเป็นผู ้ที่สูญเสียที่สุด อาจจะตกอยู ่ในจุดที่ต้องเสียผลก�ำไร เกินควรโดยไม่จ�ำเป็น แม้จะเป็นผู ้ชนะ แต่อาจเป็นผู ้ชนะที่ได้มาซึ่งทุกขลาภ เพราะเล่น เกมส์ไม่เป็นนั่นเอง
ทฤษฎีเกมส์ เล่นได้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งในการประมูลที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่า ทางส�ำนักงานกสทช. มีการคุมทฤษฎีเกมส์ที่เฉียบคม โดยใช้หลักการ“ Transparency” ซึ่งมีการแสดงตัวเลขสรุปทุกรอบ เพื่อให้เห็นความต้องการที่สูงขึ้น และแนวโน้มในการ เคาะตัวเลขของแต่ละฝ่าย จึงสามารถสร้างสถานการณ์การแข่งขันตามหลักทฤษฎีเกมส์( เดาทางคู ่แข่ง) และส่งผลให้สามารถคุมผู ้เข้าประมูลให้คงอยู ่ในเกมส์ แบบเกมส์ต่อเกมส์
แม้ทฤษฎีเกมส์ จะเป็นแนวคิดจากทางฝั่งตะวันตก โดยศาสตราจารย์ John Nash( หากใครได้ดูหนังเรื่อง A Beautiful Mind คงรู้ประวัติอัจฉริยะท่านนี้ดี) แต่ เนื้อหาบางส่วนของทฤษฎีเกมส์ ไม่ต่างอะไรนักกับต�ำราพิชัยสงครามของซุนวู เพราะ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น กูญแจหลักส�ำคัญแห่งชัยชนะ คือ“ ความปึ๊ก” ของข้อมูล ดังที่ซุน วูกล่าวในต�ำราพิชัยสงคราม ว่า“ รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” เพราะถ้าไม่รู้ เขารู้เรา อาจท�ำให้ประเมินสถานการณ์ผิดได้ แต่ถ้ารู้เขาแล้ว เขากลับไม่ท�ำแบบที่เรา คิดไว้ นั่นแปลว่า เขาอาจไม่ได้อยู่ในเกมส์ หรือเขาอาจมี“ ไม้ตาย” ที่เราไม่รู้ ก็ต้อง ย้อนกลับไปประเด็นเรื่องความพร้อมของข้อมูล เพราะมีข้อมูลที่แม่นย�ำอย่างเดียวอาจ ไม่เพียงพอ แต่ต้องเป็นข้อมูลที่อัพเดทตามสถานการณ์ด้วย
ที่มา ดร. มนธ์สินี กีรติไกรนนท์( Country Manager, Detecon Asia-Pacific, Ltd.) บริษัท เดเทคอน เอเชีย-แปซิฟิค จ�ำกัด( DETECON) เป็นบริษัทให้ค�ำปรึกษาด้านไอซีทีชั้นน�ำระดับโลก โดยมีส�ำนักงานใหญ่ในประเทศ เยอรมนีและเป็นสมาชิกของกลุ ่มเทเลคอมเยอรมนี( Deutsche Telekom) ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปีค. ศ. 1954 มีโครงการในกว่า 160 ประเทศ และอยู่ในประเทศไทยมากว่า 30ปี โดยท�ำโครงการให้ทั้งภาครัฐและเอกชนมากกว่า 100 โครงการ