Telecom & Innovation Journal TIJ 1043 | Page 8

8 Telecom Library TELECOM & INNOVATION JOURNAL วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม - วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม 2559
8 Telecom Library TELECOM & INNOVATION JOURNAL วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม - วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม 2559

พัฒนาแบบบูรณาการ ใน 4 ด้านหลัก คือ

1 ) การพัฒนาในกลุ่มเกษตรกรและรากหญ้า ซึ่งเป็นจ�ำนวนกว่า 70 % ของประชากรทั้งประเทศ ให้มีวิสัยทัศน์ที่มุ่งเน้นการพัฒนาแบบ Entrepreneur

2 ) การพัฒนาในกลุ่ม SME ซึ่งเป็นจ�ำนวนกว่า 95 % ของธุรกิจ ทั้งหมดในไทย ให้มีแนวทางการด�ำเนินงานที่คล่องตัวและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีโมเดลธุรกิจแบบกลุ่ม startups 3 ) การเปลี่ยนจาก traditional service เป็น high value services และ 4 ) การเปลี่ยนจาก low-skilled labor เป็น high-skill

บทบาทและโอกาสของผู้ให้บริการโทรคมนาคม

จากวิสัยทัศน์ 4 เรื่องที่กล่าวมา ดูเป็นเรื่องที่ท้าทายไม่น้อยเลยส�ำหรับ รัฐบาล ดังนั้น ในฐานะที่เป็นเจ้าของโครงสร้างพื้นฐาน ผู้ให้บริการทั้ง ที่เป็นภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจทุกราย ล้วนมีบทบาทส�ำคัญในการ สนับสนุนให้วิสัยทัศน์ 4.0 เกิดขึ้นได้จริง โดยมี 4 เรื่องหลักที่ผูกกับ วิสัยทัศน์ในแต่ละข้อ กล่าวคือ

1 ) การขยายการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานในหมู่ชุมชนรากหญ้า ซึ่งเป็นงานที่อยู ่ในระหว่างการด�ำเนินการโดยทางกระทรวงดิจิตัลฯ ร่วม กับผู้ให้บริการหลักทุกราย เพื่อจัดท�ำโครงข่ายบรอดแบรนด์แห่งชาติ ( National Broadband )

2 ) การบ่มเพาะธุรกิจ ( Business Incubation ) และการให้ทุน สนับสนุนวิจัย ( R & D ) เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย จะเห็นได้ ว่า กลุ่มผู้ให้บริการหลักในภาคเอกชนทั้งสามราย ได้มีการเดินหน้าใน โครงการสร้าง startups ไว้อยู ่แล้ว อย่างไรก็ดี เนื่องจากที่ผ่านมา อัตรา ความส�ำเร็จของกลุ่ม startups ค่อนข้างต�่ำกว่าที่คาดการณ์ ดังนั้น ผู้ ให้บริการตลอดจนกลุ ่มทุนต่างๆ ควรปรับโมเดลทางธุรกิจ โดยเน้นการ ลงทุนในกลุ่ม SME ที่มีพื้นฐานดี ที่ต้องการต่อยอด หรือต้องการการ พัฒนาแบบก้าวกระโดด โดยเน้นการสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยี และการวิจัยเชิงนวัตกรรม ทั้งในส่วนของเงินทุนและกระบวนการ

องค์ความรู้ต่างๆ เพื่อยกระดับธุรกิจที่มีอยู่ ให้มีคุณค่ามากขึ้น

3 ) การออกแบบโซลูชั่นเฉพาะ ( Customized Solution ) เพื่อ กลุ่มธุรกิจรายย่อยเป็นหลัก เช่นร้านค้าและบริการต่างๆ โดยมิได้หยุด แค่เพียงการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น แต่ให้ขยับเข้าไป ร่วมพัฒนาโซลูชั่นใหม่ๆ ที่จะมาตอบโจทย์การเสริมสร้างนวัตกรรมเพื่อ เพิ่มมูลค่าธุรกิจ ซึ ่งอาจจะเป็นการพัฒนาระบบภายใน หรือพัฒนา ประสิทธิภาพการบริหารจัดการระหว่างห่วงโซ่ธุรกิจ เพื่อลดต้นทุนและ เป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันธุรกิจไทย เป็นต้น

4 ) การพัฒนาทักษะแรงงาน ( Capability Development ) แรงงาน ถือเป็นหนึ่งใน Major Building Block ของการเดินหน้าสู่ โมเดล 4.0 จริงอยู ่ในเรื่องนี้ ควรเป็นหน้าที่หลักของกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงแรงงาน แต่ในบริบทของผู้ให้บริการ ก็สามารถเข้าร่วม เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาโดยการออกแบบการเรียนการสอน ผ่านทาง เทคโนโลยี e-Learning เช่น การเรียนรู้ผ่าน Virtual Classroom หรือ การให้บริการคอนเท้นต์ด้านการศึกษาผ่านโปรแกรมประยุกต์ โดยหา พันธมิตร น�ำร่อง e-Learning เพื่อสร้างฐานแรงงานใหม่ และ e-Training เพื่อพัฒนาฝีมือและขีดความสามารถของแรงงานไทยในปัจจุบัน เพื่อก้าวสู่การเป็น High-skilled Labor อย่างมีประสิทธิภาพ

จาก Enabler สู่ Driver

จะเห็นได้ว่า วิสัยทัศน์ 4.0 เปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคม มี บทบาทมากขึ้น ในการผลักดันทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศ จากที่เคยเป็นแค่เพียงผู้สนับสนุนเบื้องหลัง ( Enabler ) พลิกผันเป็นผู้ผลักดันเบื้องหน้า ( Driver ) แทน ฉะนั้น จึงขอฝากไปถึง ผู ้ให้บริการทุกรายว่า ชะตาของประเทศไทย 4.0 อยู ่ในอุ ้งมือและความ ดูแลของพวกท่าน ที่จะร่วมกันปลุกปั้นให้ประเทศไทยก้าวข้ามวิกฤต และมีโอกาสผงาดก้าวขึ้นเป็นประเทศชั้นน�ำในระดับภูมิภาคอย่าง สง่างาม อีกครั้งหนึ่ง

ที่มา ดร . มนธ์สินี กีรติไกรนนท์ ( Country Manager , Detecon Asia-Pacific , Ltd .) บริษัท เดเทคอน เอเชีย-แปซิฟิค จ�ำกัด ( DETECON ) เป็นบริษัทให้ค�ำปรึกษาด้านไอซีทีชั้นน�ำระดับโลก โดยมีส�ำนักงานใหญ่ในประเทศเยอรมนีและเป็นสมาชิก ของกลุ่มเทเลคอมเยอรมนี ( Deutsche Telekom ) ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปีค . ศ . 1954 มีโครงการในกว่า 160 ประเทศ และอยู่ในประเทศไทยมากว่า 30ปี โดย ท�ำโครงการให้ทั้งภาครัฐและเอกชนมากกว่า 100 โครงการ

แหล่งที่มาของภาพ : DETECON